ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 34' 18.1708"
18.5717141
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 49' 26.6812"
98.8240781
เลขที่ : 154268
กลองมองเซิง
เสนอโดย ANO วันที่ 30 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 31 สิงหาคม 2555
จังหวัด : เชียงใหม่
0 1365
รายละเอียด

กลองมองเซิง คือ กลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้ามีสายโยงเร่งเสียง รูปร่างคล้ายตะโพนมอญ ไม่มีขาตั้ง แต่มีสายร้อยสำหรับคล้องคอเวลาตี เฉพาะคำว่า “มองเซิง” เป็นภาษาไทใหญ่โดยที่ คำว่า “มอง” แปลว่า “ฆ้อง” ส่วน“เซิง” แปลว่า “ชุด”กลองมองเซิงจึงหมายถึงกลองที่ใช้ฆ้องเป็นชุด เพราะวงกลองมองเซิงจะเน้นเสียงฆ้องเป็นหลักใหญ่

ตัวกลองมองเซิงสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะม่วง ไม้ขนุน ไม้ประดู่ หน้ากลองด้านหนึ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งเล็ก หน้าใหญ่กว้างประมาณ 16 - 18 นิ้ว หน้าเล็กกว้างประมาณ 11 - 13 นิ้ว ตัวกลองยาวประมาณ 26 - 28 นิ้ว ภายในกลองเจาะเป็นโพรง ตรงกลางโป่งพองเล็กน้อย หนังหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวขึงทั้งสองหน้า โดยใช้สายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่ง (เชือกที่ร้อยสอดสลับกับรูหนังหน้ากลอง) ดึงให้ตึงจนหนังอยู่ตัว

การประสมวง

ใช้กลองมองเซิง 1 ลูก ฉาบขนาดใหญ่ 1 คู่ ฆ้องขนาดใหญ่และเล็กลดหลั่นลงไปประมาณ 5 - 9 ใบ ขณะบรรเลงกลองมองเซิงจะตีรับกับฉาบ โดยลักษณะอาการล้อทางเสียงหลอกล่อกันไป ในขณะที่มีเสียงฆ้องเป็นตัวกำกับจังหวะ ซึ่งมีบางแห่งเพิ่มฉิ่งตีกำกับจังหวะไปพร้อมๆ กับฆ้องด้วย

โอกาสที่ใช้บรรเลง

วงกลองมองเซิงใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่ครัวทาน และประกอบการฟ้อนพื้นเมือง รวมทั้งขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก “ลูกแก้ว” ไทใหญ่เรียก “ส่างลอง”

กลองมองเซิงนี้ ชื่อทั่วไปเรียก “กลองมองเซิง” แต่เฉพาะแถบอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองป๊ะปุ่มปิ้ง” และนอกจากนี้ ยังพบกลองลักษณะเดียวกันแต่มีขนาดเล็กเรียกว่า “กลองมองลาว”

ปัจจุบัน วงกลองมองเซิงยังเป็นที่นิยมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้แห่ขบวน ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อน เช่น ฟ้อนกลายลาย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง เป็นต้น และที่สำคัญคือมีการส่งเสริม โดยการประกวดแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง หากจัดกิจกรรมอย่างนี้ไปตลอด กลองมองเซิงก็น่าจะอยู่คู่ล้านนาต่อไป

อ้างอิง

สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://art-culture.chiangmai.ac.th/academic/natha/2548/04/26/

สถานที่ตั้ง
บ้านไร่หลวง
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 3
ตำบล ทุ่งรวงทอง อำเภอ แม่วาง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงายวัฒนธรรมอำเภอแม่วาง
บุคคลอ้างอิง นายชื่น หล้าอี่ อีเมล์ anothai_cmu@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอแม่วาง อีเมล์ anothai_cmu@hotmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 1
ตำบล บ้านกาด อำเภอ แม่วาง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50360
โทรศัพท์ 053363176 โทรสาร 053363176
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่