ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 154301
กระปุกออมสิน
เสนอโดย suwanna_ood วันที่ 30 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 2 กันยายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
2 11934
รายละเอียด

ประวัติกระปุกออมสินชิ้นแรกถูกจัดทำขึ้นในยุคคลังออมสิน เพื่อนำมาเผยแพร่หรือแจกจ่ายแก่ประชาชนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2478 แต่ในเวลานั้นเรียกว่า “กล่องใส่สตางค์คลังออมสิน” มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนใช้สำหรับเก็บสะสมทรัพย์ แล้วนำมาฝากกับคลังออมสิน เรียกการรับฝากเงินประเภทนี้ว่า “คลังออมสินสำหรับบ้าน” (Home Savings Bank) กล่องออมสินรุ่นปฐมฤกษ์นี้ ทำด้วยโลหะสังกะสี จำลองมาจากตู้รับจดหมายของกรมไปรษณีย์โทรเลขสีแดง ซึ่งในขณะนั้นคลังออมสินอยู่ภายใต้สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่อมาเมื่อคลังออมสินถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารออมสิน” รูปแบบกระปุกออมสินก็ถูกปรับเปลี่ยนให้มีรูปลักษณ์ที่จูงใจประชาชน ดึงความสนใจต่อการออมทรัพย์ให้มากขึ้น แต่ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม แรงจูงใจในการออมเงินของเด็ก ยังคงเริ่มต้นด้วยกระปุกออมสินที่มีรูปแบบและสีสันสะดุดใจ จึงเป็นที่มาของโครงการประกวดกระปุกออมสิน เพื่อให้ได้รูปแบบของกระปุกออมสินที่ตรงใจเด็กมากที่สุด โดยจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2541 หลังคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันออมแห่งชาติ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรักการออม จากที่ก่อนหน้านี้ ธนาคารจะคิดรูปแบบกระปุกออมสินกันเองเป็นการภายใน จนถึงปัจจุบัน นโยบายการประกวดประดิษฐ์กระปุกออมสินยังคงเดินหน้าต่อไป และในแต่ละปีก็จะนำผลงานที่ชนะการประกวดมาเป็นต้นแบบของการผลิตกระปุกออมสินเพื่อแจกให้กับลูกค้าในวาระต่างๆ เช่น งานวันเด็กแห่งชาติ หรือ งานวันออมแห่งชาติ โดยเริ่มต้นที่ “กระปุกต้นออม” ที่ชนะการประกวด และเป็นกระปุกออมสินใบแรกที่ธนาคารนำมาผลิตเป็นของแจกในงานวันออมแห่งชาติประจำปี 2548 ที่ผ่านมา ธนาคารออมสินเคยสำรวจกับเด็ก ๆ ว่า กระปุกออมสินเป็นแรงจูงใจในการออมหรือไม่ แต่ทุกวันเด็กหรือวันออมที่เราจัดงาน ก็จะเห็นเด็กจำนวนมากมาต่อคิวเพื่อรับกระปุก แต่ก็ต้องมีการฝากเงินด้วย โดยทุกบัญชีจะได้รับกระปุกออมสิน 1 ชิ้น นั่นก็แสดงว่า มันเกี่ยวพันกันค่อนข้างมาก ถือเป็นสิ่งของที่เด็ก ๆ อยากได้นอกจากของเล่นอื่น ๆ การประกวดประดิษฐ์กระปุกออมสิน นอกจากจะกระตุ้นให้เยาวชนรู้จักการออมเงินมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน โดยแต่ละปีจะมีเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับประถม มัธยมศึกษา อุดมศึกษา จนถึงประชาชนทั่วไป ส่งกระปุกออมสินตามจินตนาการของตัวเองในจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยแต่ละปีมีมากถึง 300 ชิ้น บางปีมีส่งเข้ามาถึง 1,000 ชิ้น ปี 2549 จัดการประกวด ภายใต้หัวข้อ “ตามรอยพ่อ” เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มีเด็กและเยาวชนสนใจเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก จึงต้องจัดการประกวดถึง 3 ครั้ง เพื่อคัดเลือกกระปุกที่มีรูปแบบที่สร้างสรรค์ที่สุด และในที่สุดกระปุกออมสินรูปหอยทากสีชมพูที่ใช้ชื่อว่า “ออม ดึ๊บ ดึ๊บ” ซึ่งเจ้าของต้องการเปรียบเทียบว่า การค่อย ๆ เก็บออมจะช่วยสร้างหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตในอนาคต เหมือนกับการก้าวเดินของหอยทาก แต่ละปีธนาคารออมสินจะคิดคอนเซปท์ในการประกวด เพื่อให้กระปุกออมสินมีความหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยการประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทสวยงาม และ ประเภทความคิดสร้างสรรค์ เมื่อธนาคารได้สุดยอดฝีมือการประดิษฐ์กระปุกแล้ว ก็จะส่งต่อไปเวทีประดิษฐ์กระปุกออมสินของสถาบันออมสินโลก ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่ผ่านมาผลงานไทย ไปคว้ามาได้ 15 รางวัล
- ปัจจุบันในพิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน มีกระปุกออมสินในกรุอยู่หลายร้อยชิ้น ทั้งจากกระปุกออมสินที่ธนาคารคิดทำกันเองภายใน จากการจัดประกวด ยังมีกระปุกออมสินจาก 50 ประเทศทั่วโลก ที่ได้แลกเปลี่ยนกันเมื่อครั้งมีการประชุมธนาคารออมสินโลกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา และเช่นเดียวกันที่กระปุกออมสินสัญชาติไทย จะได้ไปอวดโชว์ตามพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า บทแรกแห่งการออม นานาประเทศก็ตัดริบบิ้นด้วยกระปุกออมสินกันทั้งนั้น สมัยก่อนธนาคารออมสินต้องสั่งทำกระปุกออมสินจากต่างประเทศ เพราะยังผลิตเองไม่ได้ บางรุ่นมีราคาสูงถึง 35 บาทต่อชิ้น ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่สูงมากในขณะนั้น ทุกวันนี้กระปุกออมสินรุ่นนี้ ในตลาดซื้อขายของเก่า ตกอันละกว่า 10,000 บาท เพราะถือเป็นของหายาก ตัวกระปุกออมสินทำด้วยสังกะสี รูปแบบเหมือนหนังสือหรือไดอารี่ มีกุญแจสำหรับเปิดปิดได้ แต่ก็มีช่องสำหรับใส่เงินด้วย ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น เพราะใช้เป็นของที่ระลึกได้ด้วย แม้วันนี้เราจะมีผู้ช่วยด้านการออมเงินผุดขึ้นมามากมาย แถมสะดวกสบาย ได้ดอกเบี้ยมากอดเล่น ๆ แต่ก็คงไม่มีใครลืม “พี่เลี้ยง” เบอร์หนึ่งรายนี้ ที่ทำให้การออมกลายเป็นเรื่องของความผูกพันในวัยเยาว์และมีความหมายมากกว่าการเก็บเงิน

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1/69 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ศุภสิทธิ์อุทิศ
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
www.bangkokbiznews.com
บุคคลอ้างอิง สุวรรณา มานิตย์ศิริกุล อีเมล์ thiraphat2546@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วธ.อำเภอพล
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน พลรัตน์
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40120
โทรศัพท์ 081 - 8719462
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่