ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 48' 10.2438"
17.8028455
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 57' 0.8615"
98.9502393
เลขที่ : 154609
ตุงไส้หมู : หัตถกรรมพื้นบ้านล้านนา
เสนอโดย Manop_Ch วันที่ 31 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 17 กันยายน 2555
จังหวัด : ลำพูน
1 422
รายละเอียด

ตุงไส้หมูมีลักษณะเป็นพวงประดิษฐ์รูปร่างคล้ายจอมแหหรือปรางค์ทำจากกระดาษสีหรือกระดาษแก้วสีต่างๆ อย่างน้อยแผ่นละสี มาวางซ้อนกันแล้วพับทแยงมุมหลาย ๆ ทบ ใช้กรรไกรตัดสลับกันเป็นลายฟันปลาจนถึงส่วนปลายสุด เมื่อคลี่ออกและจับหงายขึ้น จะเห็นเป็นพวงกระดาษที่สวยงาม

การนำตุงไส้หมูไปใช้ ทำได้โดยนำไปผูกติดกับคันตุงยาวประมาณ ๑ เมตรใช้ถือร่วมขบวนแห่ครัวตานเข้าวัด ใช้ประดับครัวตาน หรือปักเจดีย์ทรายที่วัดในเทศกาลสงกรานต์แต่ในบางท้องที่จะใช้ตกแต่งปราสาทศพเพื่อความสวยงาม โดยประดิษฐ์เป็นพวงใหญ่ๆ ใช้กระดาษว่าวสีขาวและสีดำ หรือสีขาวและสีม่วง

ศิลปะการตัดกระดาษให้เป็นตุงไส้หมูเป็นองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งชาวล้านนาจะใช้ในพิธีทางศาสนา หรือกิจกรรมทางประเพณีของชาวล้านนา โดยเฉพาะชนกลุ่มไท ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ เป็นต้น นั่นคือ ประเพณีปี๋ใหม่ (สงกรานต์) ในพิธีกรรม หรือประเพณีดังกล่าว ชาวล้านนาจะจัดเตรียมข้าวของต่างๆ สำหรับใช้ในพิธีในวันแต่งดาคือวันสุกดิบ หรือวันเตรียมข้าวของ ซึ่งจะจัดทำก่อนหน้างานประมาณ ๑ วัน สล่าตัดตุงไส้หมู (สล่า แปลว่า ช่าง) หรือผู้ที่สามารถตัดตุงไส้หมูได้ ก็จะนำกระดาษสีต่างๆ มาตัดให้เป็นตุงไส้หมู แล้วนำไปผูกกับไม้ไผ่ซึ่งเหลาเป็นแท่งกลม ยาวประมาณ ๑ เมตร หรือนำไปผูกกับก้านต้นเขือง(ต้นเต่าร้าง) เพื่อเตรียมไปปักยังเจดีย์ทรายภายในลานวัดในวันพญาวัน หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกปี

สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอลี้
ตำบล ลี้ อำเภอ ลี้ จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตุงไส้หมู ศิลปะการตัดกระดาษของชาวล้านนา สยามเม้าท์ดอทคอม
บุคคลอ้างอิง Manop Chuenphakdi อีเมล์ neawping@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม อีเมล์ leeculture@hotmail.com
ตำบล ลี้ อำเภอ ลี้ จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51110
โทรศัพท์ 0899245223
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่