ระบำร่อนแร่เป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นตามลีลาท่าทางในการประกอบอาชีพของชาวไทยภาคใต้ ซึ่งจัดแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนภาคใต้เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ต่อมานักศึกษาระดับปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลปสมทบในคณะนาฏศิลปและดุริยางค์วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวะศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้นำระบำร่อนแร่มาปรับปรุง และเรียบเรียงท่าขึ้นใหม่โดยใช้เพลง "ตลุงราษฎร์" ซึ่งนายประสิทธิ์ ถาวร ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนองเพลงทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของนางสาวปราณี สำราญวงศ์ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางค์คีตศิลปศึกษา
ประกอบกับภาคใต้เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกทางด้านใต้ติดกับมลายูทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคลิกบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด การแต่งกาย การแสดง เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ เช่น มโนราห์ ลิเกป่า ลิเกฮูลู หน้งตะลุง รองเง็ง เพลงบอก ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง รำซัดชาตรี รำมโนราห์บูชายัญ มาลีสี่ถิ่นไทย เป็นต้นการแต่งกายชุดยาหยา ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะของหญิงชาวพื้นเมืองภาคใต้อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการแสดงเลียง ทำจากไม้ ลักษณะคล้ายกระทะแต่ไม่มีหู