ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 24.7392"
13.756872
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 56.7852"
100.499107
เลขที่ : 162562
อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 2 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 3031
รายละเอียด

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์บ้านเมือง ผู้ที่เสียชีวิตในวันที่ 14-16 ตุลาคม 2516 ถือเป็นประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็น “เจ้าของ” เหตุการณ์นั้น หากเป็นเรื่องของส่วนรวม ดังนั้น การสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (เดิมใช้ชื่อว่า อนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลา) จึงเป็นการร่วมมือกันของรัฐร่วมกับประชาชน โดยถูกเสนอผ่านคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่ก็มีอุปสรรคนานับประการ ทำให้ไม่สามารถสร้างได้ แต่ด้วยแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องจากขบวนการนิสิตนักศึกษา อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2544 อนุสรณ์สถานแห่งนี้จึงจะสามารถสร้างได้แล้วเสร็จ

ลักษณะเด่นของอนุสรณ์สถานแห่งนี้คือ สถูปวีรชน 14 ตุลา เป็นรูปกรวยคว่ำ สูง 14 เมตร โดยมีแผ่นป้ายจารึกรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 72 คน อยู่รอบสถูป และมีบทกวีของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเสรีภาพ อยู่ด้วย

ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของมูลนิธิ 14 ตุลา ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า

“อนุสรณ์สถาน14 ตุลา จะต้องเป็นสถานที่จัดกิจกรรมสาธารณะที่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและเนื้อหา ตลอดจนเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อกระตุ้นความสนใจและให้การศึกษาทางการเมือง แก่เยาวชนคนหนุ่มสาว อันจะนำไปสู่การสร้างหรือเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยใน ประเทศไทย”

นอกจากนี้ภายในอนุสรณ์สถานยังมีพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด สำนักงาน ห้องประชุม ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ และประติมากรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 14/16 ถนน ถนนราชดำเนินกลาง
อำเภอ เขตพระนคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่