ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 21.1848"
13.739218
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 36.546"
100.493485
เลขที่ : 163697
โบสถ์ซางตาครู๊ส
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 16 พฤษภาคม 2559
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
3 8529
รายละเอียด

โบสถ์ซางตาครู๊ส เป็นโบสถ์แห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และเป็นศูนย์รวมศรัทธาแห่งชาวคริสต์ชนมานับตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี

ย้อนไปในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งทรงสถาปนากรุงธนบุรี พระองค์ได้รวบรวมไพร่พลที่กระจัดกระจายจากสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งจำนวนนั้นเป็นชาวโปรตุเกสด้วย พระองค์ได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้ ต่อมาบาทหลวงกอร์ ชาวฝรั่งเศส และชาวโปรตุเกสราว 400 คน ได้ร่วมกันก่อสร้างโบสถ์ไม้หลังแรกขึ้นในวันที่ 14 กันยายน 2513 ซึ่งตรงกับวันเทิดทูนมหากางเขน (ซางตาครู้ส หมายถึง ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์) ตามพิธีสักการะบูชาของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และตั้งชื่อว่า โบสถ์ซางตาครู๊ส หรือ santa cruz ซึ่งป็นเภาษาโปรตุเกส แปลว่า กางเขนศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาในปี พ.ศ.2378 บาทหลวงปัลเลอกัวจึงสร้างโบสถ์หลังที่ 2 เสร็จ มีรูปทรงคล้ายศาลเจ้าจีน ชาวบางกอกในยุคนั้นจึงเรียกแถบนี้ว่า “กุฏิจีน” โบสถ์หลังนี้ใช้งานอยู่ 81 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2456 บาทหลวงกูเรียลโม (Guillialmo) รวบรวมเงินสร้างโบสถ์หลังใหม่เป็นหลังที่ 3 ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมชั้นเดียวแบบอิตาลียุคนีโอคลาสสิคผสมเรอเนอซองค์ ก่ออิฐประดับลายปูนปั้นงดงามส่วนล่างทำเป็นโถงประกอบด้วยซุ้มโค้งที่สอดรับกัน ประดับด้วยกระจกสีครึ่งวงกลมที่ถ่ายทอดเรื่องราวจากพระคัมภีร์

ลักษณะที่โดดเด่นคือหอคอยยอดโดมหอระฆังแปดเหลี่ยมประดับด้วยไม้กางเขนบนเรือนยอดและมีระฆังที่ให้เสียงไพเราะและพิเศษตรงที่สามารถตีเป็นเพลงได้

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
ชุมชนกุฏีจีน
เลขที่ 112 ซอย กุฎีจีน ถนน เทศบาลสาย 1
ตำบล วัดกัลยาณ์ อำเภอ เขตธนบุรี จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่