ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 8.086"
13.7522461
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 53.3695"
100.4981582
เลขที่ : 163699
รถตุ๊ก ตุ๊ก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 9 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 3703
รายละเอียด

รถตุ๊กตุ๊ก หรือชื่อเรียกเป็นทางการว่า "รถสามล้อเครื่อง" เข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2503 โดยนำเข้ารถบรรทุกสามล้อ ยี่ห้อไดฮัทสุ รุ่นมิดเจ็ท ดีเคจากประเทศญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งและนำออกจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในย่านเยาวราช ซึ่งสมัยนั้นเรียกกันว่า สามล้อเครื่อง ต่อมาภายหลังเศรษฐกิจไทยดีขึ้น จึงเพิ่มการนำเข้ารุ่นใหม่ที่มีการเพิ่มประตูสองข้าง (โดยได้ขยายไปจำหน่ายยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและตรังด้วย รถรุ่นนี้จึงถือเป็นรถต้นแบบของรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งกันอยู่ในปัจจุบันของทั้งสองจังหวัด) และเมื่อรถบรรทุกสามล้อได้รับความนิยมจากคนไทย จึงมีการนำเข้ารถยี่ห้ออื่นๆตามมา ต่อมาญี่ปุ่นได้เลิกผลิตรถรุ่นมิดเจ็ท ดีเค อะไหล่และชิ้นส่วนรถจึงขาดตลาด สร้างความเดือดร้อนไม่น้อย เป็นผลให้เจ้าของอู่ต่างๆ เริ่มผลิตอะไหล่ทดแทน จนบางรายได้ขยายกิจการตั้งเป็นโรงงานผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนรถตุ๊ก ตุ๊กออกจำหน่ายและเปลี่ยนป้ายชื่อยี่ห้อรถรุ่นต่างๆ ท้ายรถตุ๊กตุ๊กเป็นคำว่า THAILANDและยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกกฎหมายบังคับให้รถบรรทุกสามล้อ หรือ สามล้อเครื่อง หรือรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการขนส่งโดยสารจะต้องทำการจดทะเบียนขอรับใบอนุญาต "รถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสาร"

โดยต้องผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้ต้นสังกัดในรูปของบริษัทเสียก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตนี้ได้ และจะสามารถวิ่งให้บริการได้เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดให้เท่านั้น จากจำนวนรถเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2530ทางราชการได้จำกัดจำนวนรถ โดยออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมา แต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งานเฉพาะอย่างได้

ในปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กวิ่งอยู่ในกรุงเทพรวมกันประมาณ 7,405 คัน เท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน นอกจากประเทศไทยแล้วยังมีผลิตและส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ ในนาม Tuk Tuk ซึ่งบางท้องที่จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น รถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหน้ารถขนาดใหญ่กว่าทั่วไปจะเรียกกันว่า "รถตุ๊กตุ๊กหน้ากบ" และไม่ว่ารถตุ๊ก ตุ๊กจะอยู่ในท้องถิ่นใด ก็ยังถือเป็นเอกลักษณ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่