รายละเอียดข้อมูล
ลักษณะความเชื่อ ตาปู่คือผีคุ้มครองหมู่บ้าน ส่วนใหญ่รู้จักในนามตาคงขวัญม้า ชาวบ้านเรียกตาปู่ ที่สิงสถิตของปู่ตาคือศาล เรียกว่าศาลตาปู่ ลักษณะของศาลเป็นศาลสี่เสาหลังคาจั่ว กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 3เมตร ยกพื้นสูงประมาณอกผู้ใหญ่ ภายในศาลมีรูปปั้น ช้าง ม้า ตุ๊กตาคน ชายหญิง อาวุธทำด้วยไม้ เช่นมีดฯ
ความสำคัญฯ พิธีเลี้ยงตาปู่ มีความสำคัญเพราะชาวบ้านเชื่อว่า ตาปู่เป็นผู้คุ้มครองภยันตรายทุกด้านแก่ลูกหลานชาวบ้าน ชาวบ้านจะเคารพศาลปู่ตาอย่างจริงใจ เด็ก ๆ จะไม่ไปวิ่งเล่นใกล้ศาลตาปู่ เกรงว่าปู่ตาจะรำคาญแล้วบันดาลให้เจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อเดินทางออกจากบ้านถ้าผ่านศาลตาปู่ทุกคนจะยกมือไหว้แล้วอธิฐานบอกกล่าดัง ๆ ว่า ตาปู่เอยป๊กปั๊กรักษาคุ้มครองลูกหลานเด้อ (ตาปู่เอย ปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานนะ)
พิธีกรรม วันเลี้ยงตาปู่ จะกำหนดหลังจากประเพณีสงกรานต์ไปแล้ว เมื่อกำหนดวันแล้วผู้ชายจะมาทำความสะอาดบริเวณศาล เตรียมเครื่องเซ่น เช่น ไก่ต้ม เหล้า ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และโทน 3-5 ลูกในวันประกอบพิธีชาวบ้านชายหญิงจะนั่งล้อมศาลตาปู่บุคคลสำคัญทำพิธีไหว้ศาลตาปู่ คือท้าวเธอ ได้แก่คนทรงกับบริวารซึ่งอาจมีจำนวน 2-4 คนเมื่อเริ่มพิธีคนตีโทนจะตีโทนเสียงดังกระหึ่ม จนตาปู่มาเข้าทรง บริวารซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการเคารพนับถือ จะถามว่าตาปู่ชื่ออะไร เพราะตาปู่มีหลายคน เช่นตาคงขวัญม้าพญาร่มขาว เฒ่าหลงวัง เป็นต้น เมื่อทราบชื่อแล้ว ตาปู่ที่เข้าคนทรง จะแต่งกายใช้ผ้าสีที่เตรียมไว้แล้วรับเครื่องเซ่นด้วยการใช้ตะเกียบคีบมาดมจากนั้นก็ร่ายรำเมื่ออวยชัยให้พรแก่ลูกหลานแล้ว ตาปู่จะออกจากร่างคนทรง คนทรงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายแล้วเริ่มทรงตาปู่คนใหม่จนหมดตาปู่จึงเสร็จพิธี