ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 11' 3.0001"
16.1841667
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 18' 4"
103.3011111
เลขที่ : 164724
ทุ่งกุลาร้องไห้
เสนอโดย PEN วันที่ 17 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย มหาสารคาม วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : มหาสารคาม
0 1623
รายละเอียด

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขต จังหวัดสุรินทร์(อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม) , จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) ,จังหวัดบุรีรัมย์(อำเภอพุทไธสง) , จังหวัดศรีสะเกษ , จังหวัดยโสธร (อำเภอมหาชนะชัย) และ จังหวัดร้อยเอ็ด(อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และ อำเภอโพนทราย) การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้ - ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ทุ่งกุลาร้องไห้

ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีเนื้อที่ติดต่อหลายจังหวัด
ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ และสุรินทร์ สมัยก่อนมีชาวไทยใหญ่ที่ชอบเดินทาง
มาค้าขายระหว่างภาคกลาง และหัวเมืองภาคอีสาน ชาวอีสานเรียกคนกลุ่มนี้ว่า กุลผา
หรือ กุลา

นิทานเรื่องนี้มีเล่าอยู่หลายรูปแบบ ฉบับที่คัดลอกมานี้ นำมาจากหนังสือ ๕๐ นิทาน
ไทย โดย ธนากิต และหนังสือ นิทานพื้นบ้าน โดย ธวัช ปุณโณทก
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พ่อค้าชาวเผ่ากุลาคนหนึ่งมีอาชีพนำสินค้าเดินทางไปค้า
ขายตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน สินค้าที่นำมาค้าส่วน
ใหญ่เป็นพวกเครื่องประดับและของใช้เล็กๆ น้อยๆ โดยเดินทางค้าขายเร่ร่อนไปเรื่อยๆ ค่ำ
ไหนก็นอนนั้น ครั้นรุ่งเช้าก็หาบของไปขายยังหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป
วันหนึ่งพ่อค้าชาวกุลาเดินทางเข้าไปขายของในหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ชายท้องทุ่งอันกว้าง
ใหญ่ เขาได้รับคำแนะนำจากชาวบ้านว่า หมู่บ้านถัดไปนั้นอยู่ไกลมาก ต้องเดินทางข้าม
ท้องทุ่งอันแห้งแล้ง ควรจัดเตรียมเสบียงอาหารไปให้พร้อม แต่พ่อค้าชาวกุลากลับคิดว่า
ตนเองก็เดินทางเร่รอนค้าขายมาเป็นเวลาหลายปี ทำให้สามารถเดินได้เร็วและทน คาดว่า
คงจะเดินผ่านท้องทุ่งข้างหน้าไปถึงหมู่บ้านได้ในเวลาเพียงครึ่งวันเท่านั้น ไม่จำเป็นต้อง
จัดเตรียมอาหารและน้ำให้มากกว่าทุกคราวแต่อย่างใด
ครั้นได้เวลา พ่อค้าชาวกุลาก็หาบของเดินชมนกชมไม้ไปอย่างเพลิดเพลิน ท้องทุ่งแห่งนี้
เป็นดินปนทราย มีหญ้าต่างๆ ขึ้นอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะหญ้าที่ชาวบ้านเรียกว่าหญ้า
หวายนั้นมีขึ้นอยู่ทั่วไป บางแห่งก็สูงแค่หัวเข่า บางแห่งก็สูงถึงสะเอว นอกจากนี้ก็มีต้นไม้
เล็กๆ ขึ้นสลับ แต่ไม่มีต้นไม้ใหญ่สูงๆ เลยแม้แต่ต้นเดียว
ครั้นถึงเวลาสายแดดส่องแสงร้อนแผดกล้าขึ้นทุกทีๆ อากาศอบอ้าวจนรู้สึกหน้ามืดจะเป็น
ลม พ่อค้า ชาวกุลามองไปข้างหน้าเห็นแต่ท้องทุ่งแห้งแล้งไกลสุดสายตา เห็นทีจะไม่
สามารถเดินทางถึงหมู่บ้านได้แน่ เพราะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเหลือกำลัง น้ำที่เตรียมมา
เพียงเล็กน้อยก็หมดไปแล้ว นึกเจ็บใจตัวเองที่ไม่เชื่อคำเตือนของชาวบ้าน เห็นสุดปัญญา
ที่จะไปถึงจุดหมายได้ พ่อค้าชาวกุลาจึงนั่งลงกอดเข่าร้องไห้ ไม่นานนักก็มีชาวบ้านผ่าน
มาพบเข้า สอบถามได้ความว่าพ่อค้าชาวกุลาจะเดินทางนำสินค้าไปขายในหมู่บ้าน จึงช่วย
พยุงมาด้วยแล้วจัดหาข้าวปลาอาหารมาให้กินจนเป็นที่อิ่มหนำสำราญ ชาวบ้านคนอื่นๆ ได้
ข่าวก็มาเยี่ยมเยียนไต่ถามสารทุกข์สุกดิบด้วยความมีน้ำใจตามประสาคนพื้นเมือง พ่อค้า
ได้เล่าเรื่องการเดินทางข้ามท้องทุ่งอันสุดแสนกันดารจนตัวเองต้องนั่งกอดเข่าร้องไห้ให้ฟัง ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านต่างเรียกท้องทุ่งแห่งนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้

ปัจจุบัน ทุ่งกุลาเป็นพื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีการจัดการด้านชลประทานที่ดีทำให้สามารถทำนาข้าวได้ตลอดปี

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองมหาสารคาม จังหวัด มหาสารคาม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง Pensri Praseerata อีเมล์ Pensri_mculture@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองมหาสารคาม
ตำบล ตลาด อำเภอ เมืองมหาสารคาม จังหวัด มหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44000
โทรศัพท์ 043777561 โทรสาร 043777549
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่