วงโปงลาง: ดนตรีพื้นบ้านอีสาน(กาฬสินธุ์)
วงโปงลาง เป็นวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกอบไปด้วย โปงลาง พิณ แคน โหวต กลองหาง ไหซอง( เบส ) อยู่ในวงเดียวกัน ในสมัยก่อนนิยมบรรเลงร่วมกันในเวลาว่าง หรือหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในหน้าที่การงาน
ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และวิทยาลัยนาฏศิลร้อยเอ็ด ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอน วิชาดนตรีพื้นบ้าน มีการคิดท่ารำประกอบเพลงขึ้นและได้มีการอนุรักษ์ สืบทอดให้เป็นสมบัติ
โปงลาง
โปงลาง ทำมาจากไม้มะหาด ( เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะทำนองและจังหวะไปพร้อมกันแบบเดียวกับระนาดแต่แขวนในแนวตั้ง ชาวอีสานใช้มานานแล้ว แต่คงจะเกิดภายหลังแคนเพราะเพลงที่ใช้กับโปงลางเป็นเพลงลายแคนแทบทั้งสิ้น ลายแคนเองก็มีลายโปงลางซึ่งเป็นทำนองที่หมอแคนแต่งขึ้นจากความบันดาลใจจาก เสียงโปงลาง “โปงลาง” นั้น บางแห่งจะเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรี ที่พัฒนามาจาก เกราะลอ หรือ ขอลอ ( นายเปลื้อง ฉายรัศมี ,สัมภาษณ์ )
พิณ
พิณเป็นเครื่องดีดที่ทำด้วยไม้ มีกล่องเสียงลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม หรือทำเป็นรูปคล้ายใบไม้ก็มี ปัจจุบันนิยมทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแล้วแต่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ มีช่องเสียงตรงกลาง ด้านหน้า ขนาดประมาณ 25 ซ.ม. ทำให้เกิดเสียงไพเราะ สดใส คันพิณ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงปลายเซาะเป็นร่อง ด้านบน เจาะรูสำหรับสอด ลูกบิด ตั้งสายซึ่งทำจากลวด มี 2 สาย 3 สายหรือ 4 สายใน ปัจจุบันนิยมเล่น 3 สาย เล่นได้ครบทั้ง 7 เสียง สามารถบรรเลงเพลงไทย เพลงสากล หรือ บรรเลงเดี่ยว ๆ ก็ได้
แคน
แคน คนอีสานถือว่าแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำครอบครัวและชีวิตประจำวันในท้องถิ่นเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่อีกชิ้นหนึ่ง แคนสามารถเทียบเสียงได้ครบตามระบบเสียงดนตรีสากล คือ มีครบ 7 เสียง โด เร มี ฟา ซอล ฟา ที เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าโดยใช้ปากเป่าดูดลมเข้าออก ซึ่งประกอบด้วย ไม้กู่แคน ไม้เต้าแคน โลหะ และ ชันโลง ( ขี้สูด )ลิ้นแคนทำด้วยเงินหรือทองเหลือง การเป่าแคนจะเป่าเป็นทำนอง เรียกว่าลายแคน ซึ่งลายแคนเหล่านี้จะจดจำจากหมอแคนในอดีตไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร ลายต่าง ๆ ก็เลียนท่วงทำนองและเสียงจากธรรมชาติเช่น ลายสุดสะแนน ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายแมงภู่ตอมดอก ลายโปงลางขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายลมพัดพร้าว ลายลำโปงลาง เป็นต้น
โหวต
โหวด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าเช่นเดียวกับแคน และไม้ทำมาจากไม้กู่แคนไม้ซาง ( ไม้เฮี้ย ) โดยนำเอาไม้ประมาณ 7 ถึง 12 ชิ้นมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันไปให้ปลายทั้งสอง เปิดส่วนปลายด้านล่างใช้ชันรง ( ขี้สูด ) ปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับรูเป่า โดยนำเอา ไม้กู่แคนมารวมกันเข้ากันกับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลูกแคนล้อมแกนไม้ไผ่ในลักษณะ ทรงกลม ตรงหัวใช้ชันรงก่อขึ้นเป็นรูปกรวยแหลมมน เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดผีปากด้านล่างและให้โหวดหมุนได้รอบทิศทางเวลาที่ เป่า โหวดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าไม่มีลิ้น ลักษณะเสียงโหวดเกิดจากการเป่าแบบผิวปาก เช่นเดียวกับการเป่าปากขวด ในสมัยโบราณนิยมเอาโหวดมาเหวี่ยงเพื่อแข่งขันกัน เพื่อทำให้เกิดเสียงดังและมักจะ แข่งกันระหว่างที่ออกไปเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ในช่วงระหว่างหน้าหนาวประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม
กลองหาง
กลองหางเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ในสมัยก่อน เรียกว่า กลองเส็ง กลองกิ่ง กลองแต้ กลองตุ้ม แล้วแต่พื้นที่และท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านนิยมนำเอาไม้เนื้อแข็งมาขุดเป็นกลอง ลักษณะของกลองจะเป็นแบบลักษณะง่าย ๆ ไม่สลับสับซ้อน นำไม้เนื้อแข็งมาเจาะให้ตรงกลางทะลุถึงกัน ขึงหน้าด้วยหนังวัว ใช้ตีแห่ในงานต่าง ๆ โดยมีกลองแค่ใบเดียว ต่อมาได้มีการนำเข้ามาบรรเลงกับวงโปงลาง ได้นำเอากลองยาวเข้ามาแห่ด้วย แต่ในบางพื้นที่ก็นิยมเอากลองยาว 4 ใบที่มีเสียงสูง ต่ำ ตั้งเสียงที่การไล่เสียงจากเสียงสูงไปหา เสียงต่ำลดหลั่นกันไป โดยไม่ต้องใช้ข้าวเหนียวติดที่หน้ากลอง และต่อมาจากนั้น ชาวบ้านนิยมนำกลองยาวมาร่วมในการบรรเลงกับวงดนตรีโปงลางโดยขึ้นหนังหน้า กลองใหม่และเรียกชื่อขึ้นมาใหม่ว่ากลองหาง ใช้กับกลองรำมะนาใบใหญ่ 1 ใบ ซึ่งเป็นกลองเสียงทุ้ม ( ทูลทองใจ ซึ่งรัมย์ , สัมภาษณ์ )
ไหซอง ( เบส )
ไหซอง ตามแบบเดิมมี 2 ใบ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514 ได้นำไหมาทดลองดีดประกอบโปงลางโดยคณะโปงลางกาฬสินธุ์ เพียง 2 ใบเท่านั้น คือ ไหเล็กและไหใหญ่ เพื่อให้เกิดเสียงสูงและเสียงต่ำไม่ซ้ำเสียงกัน ใช้ขึงด้วยยางสติ๊กตามแบบเดิม ถ่วงเสียงด้วยระดับน้ำพอเหมาะ ทำให้เกิดเสียงขึ้นคู่ 5 เสียง ลา-มี เทียบเสียงกับโปงลางหรือ พิณ แคน ก็ได้ เมื่อนำมาดีดก็เกิดเสียงไพเราะนุ่มนวลดีกว่าเสียงกลอง ซึ่งเสียงจะแข็งและหนักแน่นเกินไป จึงนิยมใช้และพัฒนามา จนถึงปัจจุบันไหซองส่วนใหญ่นิยมใช้กันถึง 5 ใบและทำขาตั้งด้วยเหล็กยึดติดแน่นป้องกัน การตกหล่นกระทบพื้น ( นิตยา รังเสนา , สัมภาษณ์ )วงโปงลาง: ดนตรีพื้นบ้านอีสาน(กาฬสินธุ์)
วงโปงลาง เป็นวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกอบไปด้วย โปงลาง พิณ แคน โหวต กลองหาง ไหซอง( เบส ) อยู่ในวงเดียวกัน ในสมัยก่อนนิยมบรรเลงร่วมกันในเวลาว่าง หรือหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจในหน้าที่การงาน
ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และวิทยาลัยนาฏศิลร้อยเอ็ด ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอน วิชาดนตรีพื้นบ้าน มีการคิดท่ารำประกอบเพลงขึ้นและได้มีการอนุรักษ์ สืบทอดให้เป็นสมบัติอยู่คู่กับชาวอีสานตลอดไป
โปงลาง
โปงลาง ทำมาจากไม้มะหาด ( เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเคาะทำนองและจังหวะไปพร้อมกันแบบเดียวกับระนาดแต่แขวนในแนวตั้ง ชาวอีสานใช้มานานแล้ว แต่คงจะเกิดภายหลังแคนเพราะเพลงที่ใช้กับโปงลางเป็นเพลงลายแคนแทบทั้งสิ้น ลายแคนเองก็มีลายโปงลางซึ่งเป็นทำนองที่หมอแคนแต่งขึ้นจากความบันดาลใจจาก เสียงโปงลาง “โปงลาง” นั้น บางแห่งจะเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากเตอะเติน เป็นเครื่องดนตรี ที่พัฒนามาจาก เกราะลอ หรือ ขอลอ ( นายเปลื้อง ฉายรัศมี ,สัมภาษณ์ )
พิณ
พิณเป็นเครื่องดีดที่ทำด้วยไม้ มีกล่องเสียงลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม หรือทำเป็นรูปคล้ายใบไม้ก็มี ปัจจุบันนิยมทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแล้วแต่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ มีช่องเสียงตรงกลาง ด้านหน้า ขนาดประมาณ 25 ซ.ม. ทำให้เกิดเสียงไพเราะ สดใส คันพิณ ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงปลายเซาะเป็นร่อง ด้านบน เจาะรูสำหรับสอด ลูกบิด ตั้งสายซึ่งทำจากลวด มี 2 สาย 3 สายหรือ 4 สายใน ปัจจุบันนิยมเล่น 3 สาย เล่นได้ครบทั้ง 7 เสียง สามารถบรรเลงเพลงไทย เพลงสากล หรือ บรรเลงเดี่ยว ๆ ก็ได้
แคน
แคน คนอีสานถือว่าแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำครอบครัวและชีวิตประจำวันในท้องถิ่นเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่อีกชิ้นหนึ่ง แคนสามารถเทียบเสียงได้ครบตามระบบเสียงดนตรีสากล คือ มีครบ 7 เสียง โด เร มี ฟา ซอล ฟา ที เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าโดยใช้ปากเป่าดูดลมเข้าออก ซึ่งประกอบด้วย ไม้กู่แคน ไม้เต้าแคน โลหะ และ ชันโลง ( ขี้สูด )ลิ้นแคนทำด้วยเงินหรือทองเหลือง การเป่าแคนจะเป่าเป็นทำนอง เรียกว่าลายแคน ซึ่งลายแคนเหล่านี้จะจดจำจากหมอแคนในอดีตไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร ลายต่าง ๆ ก็เลียนท่วงทำนองและเสียงจากธรรมชาติเช่น ลายสุดสะแนน ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายแมงภู่ตอมดอก ลายโปงลางขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายลมพัดพร้าว ลายลำโปงลาง เป็นต้น
โหวต
โหวด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าเช่นเดียวกับแคน และไม้ทำมาจากไม้กู่แคนไม้ซาง ( ไม้เฮี้ย ) โดยนำเอาไม้ประมาณ 7 ถึง 12 ชิ้นมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันไปให้ปลายทั้งสอง เปิดส่วนปลายด้านล่างใช้ชันรง ( ขี้สูด ) ปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับรูเป่า โดยนำเอา ไม้กู่แคนมารวมกันเข้ากันกับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลูกแคนล้อมแกนไม้ไผ่ในลักษณะ ทรงกลม ตรงหัวใช้ชันรงก่อขึ้นเป็นรูปกรวยแหลมมน เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดผีปากด้านล่างและให้โหวดหมุนได้รอบทิศทางเวลาที่ เป่า โหวดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าไม่มีลิ้น ลักษณะเสียงโหวดเกิดจากการเป่าแบบผิวปาก เช่นเดียวกับการเป่าปากขวด ในสมัยโบราณนิยมเอาโหวดมาเหวี่ยงเพื่อแข่งขันกัน เพื่อทำให้เกิดเสียงดังและมักจะ แข่งกันระหว่างที่ออกไปเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ในช่วงระหว่างหน้าหนาวประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม
กลองหาง
กลองหางเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ในสมัยก่อน เรียกว่า กลองเส็ง กลองกิ่ง กลองแต้ กลองตุ้ม แล้วแต่พื้นที่และท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านนิยมนำเอาไม้เนื้อแข็งมาขุดเป็นกลอง ลักษณะของกลองจะเป็นแบบลักษณะง่าย ๆ ไม่สลับสับซ้อน นำไม้เนื้อแข็งมาเจาะให้ตรงกลางทะลุถึงกัน ขึงหน้าด้วยหนังวัว ใช้ตีแห่ในงานต่าง ๆ โดยมีกลองแค่ใบเดียว ต่อมาได้มีการนำเข้ามาบรรเลงกับวงโปงลาง ได้นำเอากลองยาวเข้ามาแห่ด้วย แต่ในบางพื้นที่ก็นิยมเอากลองยาว 4 ใบที่มีเสียงสูง ต่ำ ตั้งเสียงที่การไล่เสียงจากเสียงสูงไปหา เสียงต่ำลดหลั่นกันไป โดยไม่ต้องใช้ข้าวเหนียวติดที่หน้ากลอง และต่อมาจากนั้น ชาวบ้านนิยมนำกลองยาวมาร่วมในการบรรเลงกับวงดนตรีโปงลางโดยขึ้นหนังหน้า กลองใหม่และเรียกชื่อขึ้นมาใหม่ว่ากลองหาง ใช้กับกลองรำมะนาใบใหญ่ 1 ใบ ซึ่งเป็นกลองเสียงทุ้ม ( ทูลทองใจ ซึ่งรัมย์ , สัมภาษณ์ )
ไหซอง ( เบส )
ไหซอง ตามแบบเดิมมี 2 ใบ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514 ได้นำไหมาทดลองดีดประกอบโปงลางโดยคณะโปงลางกาฬสินธุ์ เพียง 2 ใบเท่านั้น คือ ไหเล็กและไหใหญ่ เพื่อให้เกิดเสียงสูงและเสียงต่ำไม่ซ้ำเสียงกัน ใช้ขึงด้วยยางสติ๊กตามแบบเดิม ถ่วงเสียงด้วยระดับน้ำพอเหมาะ ทำให้เกิดเสียงขึ้นคู่ 5 เสียง ลา-มี เทียบเสียงกับโปงลางหรือ พิณ แคน ก็ได้ เมื่อนำมาดีดก็เกิดเสียงไพเราะนุ่มนวลดีกว่าเสียงกลอง ซึ่งเสียงจะแข็งและหนักแน่นเกินไป จึงนิยมใช้และพัฒนามา จนถึงปัจจุบันไหซองส่วนใหญ่นิยมใช้กันถึง 5 ใบและทำขาตั้งด้วยเหล็กยึดติดแน่นป้องกัน การตกหล่นกระทบพื้น ( นิตยา รังเสนา , สัมภาษณ์ )
ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธ์ุได้มีการบรรจุให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น โดยให้สถานศึกษทุกแห่งได้มีการเรียนการสอนดนตรีโปงลางทุกแห่งทั้งจังหวัด และได้มีการจัดงานมหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดประจำจังหวัดกาฬสินธ์ุ ในระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ - ๗ มีนาคม ทุกปี ทั้งนี้ในพิธีเปิดนั้นได้ถือเอาวันที่ ๒๖ ของทุกปี เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมาเล่นดนตรีโปงลางที่วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธฺุ์ื์์ ทางจังหวัดจึงถือว่า วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันเปิดงาน ในการจัดงานก็จะมีการประกวดวงดนตรี โปงลางด้วย