เริ่มจากนายณรงค์ ปันธรรม จบการศึกษาทางศิลปะจากวิทยาเขตเพราะช่าง กรุงเทพมหานคร รับราชการกรมศิลปากร ต่อมาได้ลาออกมาประกอบอาชีพกับนายกำจัด คงมีสุข พ่อตา ซึ่งมีอาชีพเป็นครู และมีอาชีพเสริมคือ เป็นช่างปั้นพระ ปั้นรูปเหมือน หล่อทองเหลือง แกะสลัก มานานนับสิบปี ต่อมาได้เกิดความคิดจากดินเหนียวที่ตนเองกำลังทำชิ้นงานอยู่นั้นว่า นอกจากจะนำดินมาปั้นพระแล้ว ดินนี้สามารถนำไปประยุกต์ให้เป็นวัตถุเพิ่มมูลค่าอย่างอื่นได้อีก โดยผสมผสานกับแนวคิดรูปแบบลวดลายเดิมที่ตนเองได้เรียนรู้และตนเองซึ่งเป็นคนเชียงใหม่ได้นำลวดลายล้านนามาผสมผสานกับลวดลายไทยภาคกลาง ที่มีความละเอียด วิจิตรตระการตา จึงได้คิดที่จะนำดินนั้นมาทำเป็นเซรามิคโดยพัฒนาจากลายปูนปั้น และลวดลายไทยที่เป็นลายกนกประยุกต์ทำเป็นลวดลายเซรามิค ศิลปวัฒนธรรมทั้งทางภาคเหนือและภาคกลางรวมไว้ด้วยกัน จึงได้ก่อเกิดผลิตภัณฑ์เซรามิคชุมชนวัดชัยมงคล
ผลิตภัณฑ์เซรามิคชุมชนวัดชัยมงคล มีลักษณะเด่นสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ การนำเอาศิลปะลายไทยมาประยุกต์เข้าไปในงานเซรามิค โดยแกะเป็นลายร่องลึกแล้วเคลือบด้วยน้ำเคลือบศิลาดล ซึ่งเป็นการเคลือบแบบโบราณของไทย