ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 16.3932"
13.737887
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 49.5108"
100.513753
เลขที่ : 166145
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยาวราช วัดไตรมิตร
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 2905
รายละเอียด

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ชั้น 2 ของพระมหามณฑปภายในบริเวณวัดไตรมิตร โดยรูปแบบและแนวคิดในการนำเสนอจะมุ่งบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเล ที่ในอดีตเคยหอบเสื่อผืนหมอนใบมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัย

ซึ่งมีการบอกเล่าด้วยภาพและกราฟิกที่สวยงาม อีกทั้งมีหุ่นจำลองชาวจีน ขนาดเท่าคนจริง ในการบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างเหมาะสม

พิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้แก่

1.เติบใหญ่ใต้ร่มพระบารมีจะนำเสนอในรูปแบบการเล่าให้ฟัง โดยมีตัวละครอากง บอกเล่าเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนชาวจีนสำเพ็งและเยาวราช รวมถึงความผูกพันธ์ของชาวจีนที่มีต่อพระมหากษัตริย์ให้หลานชายฟัง

2.กำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์บอกเล่าผ่านภาพ และตัวอักษร ซึ่งมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และจีน ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-3

3.เส้นทางสู่ยุคทอง (พ.ศ.2394 - 2500)บอกเล่าถึงพัฒนาการชาวจีนจากชุมชนสำเพ็ง สู่ถนนเยาวราชอันมั่งคั่งโดยบอกเล่าผ่านหุ่นจำลองขนาดเล็ก

4.ตำนานชีวิตHall of Fameเป็นการฉายวิดีทัศน์ประกอบเรื่องราว และแบบอย่างของคนจีนเยาวราชที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง อีกทั้งมีคุณธรรมให้คนยุคหลังได้เอาเป็นแบบอย่าง

5.พระบารมีปกเกล้าฯเป็นห้องที่บอกเล่าเรื่องราวถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อชาวจีนโพ้นทะเลโดยนำเสนอผ่านแกลเลอรี่ภาพถ่ายและวีดิทัศน์

6.ไชน่าทาวน์วันนี้เป็นภาพถ่าย และภาพกราฟิกแสดงถึงสีสันของถนนเยาวราชในปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยาวราช วัดไตรมิตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน สำหรับคนไทยฟรี ส่วนชาวต่างชาติคนละ 140 บาท

หมวดหมู่
พิพิธภัณฑ์
สถานที่ตั้ง
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
เลขที่ 661 ถนน เจริญกรุง
ตำบล ตลาดน้อย อำเภอ เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่