ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 9' 35.3945"
17.1598318
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 9' 45.6718"
104.1626866
เลขที่ : 166839
ขบวนแห่ปราสาทผึ้งวัดศรีสระเกษ
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
1 483
รายละเอียด

เมื่อถึงช่วงเทศกาลออกพรรษาระหว่างวันขึ้น ๑๒ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี จะมีประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง และก่อนวันแห่ปราสาทผึ้งของชุมชน/วัดในเขตเทศบาลนครสกลนคร และในจังหวัดสกลนคร ก็จะนำปราสาทผึ้งของตนที่ตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงาม มีการประดับโคมไฟหลากสีมาตั้งประกวดแข่งขันกัน ณ สนามมิ่งเมือง เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมความสวยงามอย่างเต็มที่เลยทีเดียว และเมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ก็จะเป็นวันแห่ขบวนปราสาทผึ้งที่ทำการตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงามของวัดและคุ้มต่างๆ ไปตามถนนในเขตเทศบาลนครสกลนครไปสู่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปราสาทผึ้งแต่ละขบวนก็จะนำมาตั้งไว้เป็นพุทธบูชา ด้วยความเชื่อและความศรัทธาของชาวอีสานที่เชื่อว่าในเทศกาลออกพรรษาพระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อมาโปรดเวไนยสัตว์ในโลกมนุษย์ให้พ้นทุกข์ ขบวนแห่ปราสาทผึ้งจากวัดศรีษะเกษ อยู่ในขบวนที่ ๑๑ มีการแสดงลุ่มน้ำหนองหาร ซึ่งวัดศรีษะเกษ ร่วมกับชุมชนวัดศรีษะเกษ ชุมชนหนองหารหลวง ชุมชนวัดโพธิ์ชัย อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอบ้านม่วง ในขั้นตอนการทำนั้นก็จะมีผู้นำชุมชนพร้อมคณะกรรมวัดและชุมชนตลอดจนพระภิกษุ ประชุมหารือว่าในปีนี้วัดหรือคุ้ม ชุมชนจะทำปราสาทผึ้งแบบไหน ทรงอะไร ก็จะลงความเห็นกันแล้วให้ช่างมาออกแบบทำปราสาทผึ้งขึ้น ช่างจะมีผู้ช่วยตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป แต่ละคนก็จะมีหน้าที่ออกแบบ,แกะลาย,ทำพิมพ์,ต้มผึ้ง,การหล่อและการติดลายนั่นเอง ส่วนขั้นตอนการทำนั้นอันดับแรกคือการออกแบบโครงสร้างปราสาทฐานปราสาทจนถึงยอดสุดปราสาทผึ้งนั่นเอง ใช้วัสดุจากไม้,ไม้อัดหรือไม้ไผ่ ขั้นตอนต่อไปการแกะลายจำมีช่างที่ชำนาญโดยการใช้ดินน้ำมันหรือดินเหนียวแกะลายที่ต้องการ จากนั้นนำลวดลายเหล่านั้นมาสร้างแบบพิมพ์ออกมา โดยใช้ปูนพาสเตอร์,ซิลิโคนหรือยางพารานำไปหล่อกับขี้ผึ้งที่ต้มไว้แล้วเทลงแบบหล่อวางไว้ให้เย็นเสร็จแล้วแกะผึ้งที่หล่อออกจากพิมพ์ตกแต่งให้ได้แบบได้มุม นำไปติดปะในโครงปราสาทโดยใช้กาวหรือขี้ผึ้งเหนียวมาติดปะส่วนต่างๆ เข้ากับโครงปราสาทจนเสร็จทุกขั้นตอนเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อยพร้อมที่จะเข้าร่วมขบวนแห่ ในแต่ละวัดหรือชุมชนก็จะมีปราสาทผึ้งรูปทรงในแต่ละปีจะทำออกมาไม่เหมือนกัน ก็จะมีหลายแบบหลายรูปทรงดังนี้ รูปทรงสมัยโบราณและแบบประยุกต์ เช่น ปราสาทผึ้งทรงพระธาตุ ลักษณะรูปแบบโดยส่วนรวมคล้ายกับองค์พระสถูปเจดีย์ ปราสาททรงหอผี เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้นเลียนแบบอาคาร เรือนที่อยู่อาศัยแบบพื้นเมือง ปราสาทผึ้งทรงบุษบก เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้นเลียนแบบหรือจำลองจากบุษบก ปราสาทผึ้งทรงจัตุรมุข เป็นปราสาทผึ้งที่สร้างขึ้นเลียนแบบหรือมีลักษณะที่แสดงถึงการจำลองรูปแบบมาจากพระที่นั่งปราสาทราชมณเฑียรสถาน ซึ่งในขบวนแห่ปราสาทผึ้งก็จะประกอบด้วยการแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ ของสภาวัฒนธรรมอำเภอทุกอำเภอ โรงเรียนในจังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัย และชุมชนมีการแสดง เช่น การแต่งกาย 6 เผ่า การแสดงของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม คนไทยเชื้อสายจีน การรำมวยโบราณการฟ้อนภูไท(ผู้ไทย) การแสดงดนตรีพื้นเมืองการแสดงถึงวิถีชีวิตของคนสกลนครซึ่งเป็นประเพณีที่มี ความสนุกสนานแต่ในขณะเดียวกันได้แสดงออกถึงความเชื่อในพระพุทธศาสนาเป็น สำคัญและถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร

สถานที่ตั้ง
วัดศรีสระเกษ
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายทัศพล สายสุข
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่