การแต่งกายของผู้ชายกะเหรี่ยงบ้านไร่ป้า เป็นเสื้อทรงตรงยาวกรอมเท้า พื้นสีขาวมีลายแถบสีแดงหรือสีชมพูเล็กยาวตลอดตัวเสื้อตั้งแต่บริเวณหน้าอก กลางหลังและสีข้าง ส่วนล่างของเสื้อจะเป็นลวดลายการทอจกแบบชาวกะเหรี่ยง
เสื้อของผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงมี 2 ประเภท คือ ประเภทแรกซึ่งเรียกชื่อหลายอย่าง ได้แก่ ไช่ขุ่กี (เสื้อลายไหล่) ไช่ฉื่อ(เสื้อเผ่าพันธุ์) ไช่อว่าหรือบางพื้นที่ออกเสียงเป็น ไช่อั่ว (เสื้อขาว) เป็นเสื้อของเด็กหญิงที่สวมใส่ตั้งแต่เล็กจนถึงเริ่มมีประจำเดือนหรือมีอายุครบ 15 ปี
ผ้าซิ่น (นี้ง) โดยทั่วไปผ้าซิ่นจะใช้กับผู้หญิงที่แต่งงานหรือพ้นช่วงวัยรุ่นแล้ว ผ้าซิ่นแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหัวซิ่นและส่วนตีนซิ่น ส่วนที่สำคัญของผ้าซิ่น คือ ส่วนตัวซิ่น ซึ่งจะตกแต่งด้วยการทอจกหรือทอยกดอกเป็นลวดลายต่างๆ สำหรับส่วนหัวซิ่นและตีนซิ่นจะทอพื้นธรรมดาด้วยด้านสีเข้ม ผ้าซิ่นสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทตามวิธีการทอ ลวดลาย ได้แก่
ประเภทที่ 1 นี๊งอุ่ง(ซิ่นจก) มีลวดลายที่ทอได้แก่ ลายทูไข้คา (คางนกแก๊ก) หรือลายไก่เปอะ (โค้งเกี่ยวกัน) ทู่แก(นกหกเล็ก)
ประเภทที่ 2 นี้งบุหรือนี้งบุออง(ซิ่นยกดอก) มีลวดลายที่ทอ ได้แก่ ไกผะดู (โค้งใหญ่) ไกหมิซา (โค้งลูกตา) ดีหล่อง(ไข่ลง)
ประเภทที่ 3 นี้งไค้ย (ซิ่นลาย “คิดเอง” หรือ ลายมัดย้อม) เป็นซิ่นที่สร้างลวดลายตั้งแต่ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการย้อมด้ายให้เป็นสีด้วยการมัดด้ายให้เป็นเปราะแล้วนำไปย้อม เป็นผ้าทอ 2 ชิ้นประกบกัน เย็บให้ติดกัน โดยเว้นช่วงคอ และแขนสองข้าง ชายปล่อย ไม่มีชายครุย และพู่บริเวณตัวเสื้อ