ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 45' 8.086"
13.7522461
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 29' 53.3695"
100.4981582
เลขที่ : 167483
อิเหนา
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 4530
รายละเอียด

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์

สถานที่จัดเก็บ : บริษัทโปรวิชั่น จำกัด

ลักษณะเอกสาร : หนังสือ

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทย

รูปแบบการประพันธ์ : กลอนบทละคร(กลอนแปดชนิดหนึ่ง)

บทละครเรื่องอิเหนาเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าแล้ว ยังบอกเล่าประเพณีไทยแต่โบราณด้วยอีกสถานหนึ่ง ด้วยประเพณีต่างๆ ที่มีในเรื่องอิเหนา ดังเช่น ประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่(เมื่ออิเหนาเกิด) ประเพณีการพระเมรุ(ที่เมืองหมันยา) หรือประเพณีรับแขกเมือง(เมื่อท้าวดาหารับทูตจรกา) ทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราราชประเพณีทุกอย่าง แก้ไขแต่ตรงที่ขัดกับเนื้อเรื่อง ดังเช่นในที่พระภิกษุสงฆ์เปลี่ยนเป็นฤาษีเป็นต้น

แต่บทละครอิเหนาซึ่งมีรวมกันทั้งหมด ๓๘ เล่มสมุดไทยนั้น ที่จริงมิได้เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ทั้งหมด มีการสืบมาจากผู้หลักผู้ใหญ่มาว่า ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เพียงสึกชี คือ จบเพียงเล่ม ๒๙ เล่ม เท่านั้น อีก ๙ เล่มสมุดไทยว่าเป็นของผู้แต่งอื่นเติมต่อภายหลัง แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าผู้ใดเป็นแต่ง แต่สังเกตจากสำนวนหนังสือ เข้าใจว่าเป็นของต่อตอน ๑ แล้วมีผู้แทรกเมื่อต่อแล้วอีก ๓ ตอน

สำหรับอิเหนา เป็นนิทานที่เล่ากันแพร่หลายมากในชวา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตำนานอิงประวัติศาสตร์ของชาวชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งพงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati)หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji)และเนื่องจากนิทานปันหยีของชวามีด้วยกันอยู่หลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรามากที่สุด คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี

อิเหนาเริ่มเป็นที่รู้จักในสยามประเทศตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหญิงเชลยปัตตานีที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)

นับแต่นั้นมาก็ได้มีนักปราชญ์ ราชบัณฑิตของไทยแต่งเรื่องอิเหนาขึ้นมาอีกหลายสำนวนด้วยกัน และรวมถึงบทละครอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยซึ่งถือว่าเป็นอิเหนาที่มีคุณค่าในวรรณคดีสมบูรณ์สูง

สถานที่ตั้ง
จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่