ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 50' 36.231"
6.8433975
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 28' 45.9556"
101.4794321
เลขที่ : 168234
ประเพณีการชิงเปรต
เสนอโดย suta วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 7 ธันวาคม 2555
จังหวัด : ปัตตานี
0 615
รายละเอียด

ประเพณีการชิงเปรต หรือ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยชื่อกันว่าหากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในนรกอเวจี ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลในแต่ละปีให้มายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ ตามปฏิทินทางจันทรคติ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่า เปรต จึงถูกปล่อยมายังโลกมนุษย์เพื่อขอส่วนบุญจากบุตรหลาน และจะกลับไปยังนรกในวัน แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ

ในโอกาสนี้ ลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ทีล่วงลับไปแล้วเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที โดยอาหารที่เตรียมไปจะประกอบไปด้วย ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มสามเหลี่ยม ขนมเจาะหู ข้าว แกงและผลไม้ต่างๆ ซึ่งจะถวายพระส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจะนำไปวางตามใต้ต้นไม้รอบวัด และอีกส่วนหนึ่งจะนำมาตั้งรวมกันบนโต๊ะ หรือบนร้านเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต โดยอาจทำขึ้นจากไม้เสาสูงต้นเดียวชโลมน้ำมัน แล้วส่วนด้านบนจะสานเป็นตะแกรงเพื่อตั้งของ หลังจากที่พระฉันภัตตาหารเสร็จก็จะเริ่มการชิงเปรต คือการแย่งชิงสิ่งของดังกล่าวนั้น

ประเพณีชิงเปรต นอกจากจะเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีนี้ยังแขวงไว้ซึ่งกุสโลบายในการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาพบเจอกัน และความสนุกสนานในการร่วมกิจกรรมดังกล่าวอีกด้วย

สถานที่ตั้ง
ตำบลท่าข้าม
ตำบล ท่าข้าม อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายประพันธ์ อินทกาญจน์
บุคคลอ้างอิง นายสุธา นิลวิสุทธิ์ อีเมล์ sutapattani@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
ตำบล ปะนาเระ อำเภอ ปะนาเระ จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94130
โทรศัพท์ ๐๘๙ ๗๓๗๐๕๑๑
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่