ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 8' 29.724"
17.14159
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 39' 53.46"
101.66485
เลขที่ : 168250
หลามหมูยอ อ.ภูหลวง
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 2531
รายละเอียด

คุณป้าน้อย กับ สินค้าอำเภอ ภูหลวง !

ประวัติความเป็นมา : จากนโยบายรัฐบาลได้มีนโยบายให้ทุกพื้นที่ชุมชนจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ตามแนวทางของรัฐบาล จึงได้มีการ จัดตั้ง กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้าย โดยให้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองภูหลวง”เหตุผลของการจัดตั้งกลุ่มในครั้งแรกนี้ เกิดขึ้นเพราะต้องการใช้ชื่อเสียงของจังหวัดที่มีอยู่ในจังหวัดอยู่แล้วคือ “ดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย” ก็จึงได้จัดตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมาโดยผลิตสินค้าประจำกลุ่มคือ ผ้าฝ้าย และตั้งชื่อแบรนด์สินค้านี้ว่า ว่า ฝ้ายภูหลวง จากนั้นกิจการของกลุ่มก็ดำเนินงานไปได้ด้วยดีเพราะในช่วงรัฐบาลสมัยนั้นได้มีนโยบาลให้ข้าราชกาลใส่ผ้าพื้นเมือง

จากนั้นเกิดปัญหาในเรื่องของการขายสินค้า เพราะปัจจัยภายนอก (การเมือง )และผสมกับไม่ต้องการเสียทุนไปเปล่า เพราะต้องตามกระแสแฟชั่น เพราะสินค้าของกลุ่มนั้นจะต้องตามแฟชั่น จึงทำให้ในวันที่ 1 มกราคม 2548 เริ่มมีการจัดตั้งรวมกลุ่มใหม่ จากการยุบกลุ่มก่อนหน้านี้ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่แล้วมีอาชีพและเป็นผู้สูงอายุที่ควรจะต้องพักผ่อนอยู่ที่บ้านและในช่วงเวลาเดียวกัน นั้น ตนได้เห็นปัญหาการว่างงานของบัณฑิตที่จบแล้วไม่มีงานทำต้องกลับมาอยู่บ้าน จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งกลุ่มใหม่โดยเอากี่(กี่ : เครื่องทอผ้า) แจกจ่ายไปตามบ้านของสมาชิกกลุ่มทอผ้าฝ้ายเดิม และจัดตั้งกลุ่มใหม่ โดยจะดึงเอาลูกหลานที่ ว่างงานดังกล่าวเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มแทน จึงได้เป็นการจัดตั้งกลุ่มใหม่และเปลี่ยนการผลิตสินค้าของกลุ่มใหม่ด้วยความคิดที่ว่า เราควรจะทำอะไรก็ได้แต่ต้องให้มันสำคัญอยู่ในปัจจัย 4ของมนุษย์เรา จึงกลายมาเป็น กลุ่มผลิตอาหารโดยตั้งชื่อกลุ่มใหม่นี้ว่า “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์อำเภอภูหลวง” จากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยน อาคารและสถานที่ใหม่ เดิม ห้องตัดชุดนั้น เปลี่ยนให้เป็นห้องผลิต เป็นห้องผลิตหมูยอทันที และให้ชื่อแบรนด์สินค้านี้ ก็ยังเป็น ภูหลวง หมูยอภูหลวง ด้วยการจัดกลุ่มหมูยอนี้จึงทำให้ตนได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรสอนเรื่องอาชีพที่เวียดนาม จากการไปเป็นวิทยาการที่เวียดนามทำให้ตนได้เพื่อนที่ผลิตหมูยอเป็นเพื่อนใหม่ 1 ท่าน ตนจึงจ้างให้เพื่อชาวเวียดนามมาสอนเกี่ยวกับวิธีการจัดการผลิต เกี่ยวกับการทำหมูยอที่หมู่บ้านที่กลุ่มโครงการเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งในส่วนของสูตรเครื่องปรุงผสมนั้น ตนมีความรู้สึกไม่ยินดีด้วยจึงขอเพียงให้สอนในส่วนของการจัดการการผลิตว่าจะต้องทำอย่างไรกว่าจะได้หมูยอเท่านั้น ส่วนเครื่องปรุงและสูตรผสมตนจะคิดค้นเอง นาทีที่ 5.30น

สถานที่ตั้ง
อำเภอ ภูหลวง จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอ ภูหลวง จังหวัด เลย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่