ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 29' 6"
17.4850000
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 43' 48"
101.7300000
เลขที่ : 168761
แหย่งช้าง
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 1809
รายละเอียด

แหย่งช้างโบราณ ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวิจารณ์สังฆกิจ หรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดศรีจันทร์ ทำจากไม้ หวายและเชือกโดยปกติแหย่งที่ใช้โดยทั่วไปมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเติบโตของช้างช้างที่โตเต็มที่แล้ว คืออายุตั้งแต่สิบเก้าปีขึ้นไปใช้แหย่งขนาดกว้าง 52 เซนติเมตร ยาว 130 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร ซึงเป็นมาตรฐานสำหรับช้างที่สมบูรณ์เต็มที่ หากเป็นช้างขนาดเล็กแหย่งจะเล็กลง เมื่อทำแหย่งเจ้าของช้างต้องวัดขนาดของตัวช้างก่อนเพื่อไม่ให้แหย่งหลวมหรือคับเกินไป การวางแหย่งบนหลังช้างนั้นระหว่างแหย่งกับกลังช้างจะมีเปลือกไม้ และหนังวัวหนังควายรองรับลดการเสียดสีระหว่างหลังช้างกับแหย่ง สิ่งที่วางรอบบนหลังช้างมีสองชั้นคือเปลือกไม้กระโดน และหนังวัวหนังควาย เปลีอกไม้กระโดน เป็นเปลือกไม้ที่เลาะจากต้นกระโดน นำมาทุบแล้วเย็บต่อกันให้เป็นผืนขนาดใหญ่เพื่อใช้แทนพรม มีคุณสมบัติเฉพาะคือนิ่มและช่วยระบายอากาศไม่ให้ร้อน ส่วนหนังวัวและหนังควายเป็นหนังสัตว์ที่นำมาฟอกแล้ว ตากให้แห้งจึงนำมาใช้ หนังวัวสามผืนใช้ปูหลังช้างหนึ่งตัว หากเป็นหนังควายจะใช้สามผืน

เมื่อวางแหย่งบนหลังช้างแล้ว ใช้เชือกมัดระหว่างคอช้าง กับแหย่งและมัดลอดใต้ท้องกับแหย่ง เพื่อมิให้โยกเวลาช้างเดิน

คำสำคัญ
แหย่งช้าง
หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดศรีจันทร์
อำเภอ เมืองเลย จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่