ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 3' 4.68"
17.0513
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 45' 53.532"
101.76487
เลขที่ : 168923
กระปุกออมสินไม้ไผ่
เสนอโดย MoCSpecial วันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เลย
0 4467
รายละเอียด

ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ความเป็นมาช่วงในปี2541มีการเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวมาถึงที่หมู่บ้าน ทางหมู่บ้านไม่มีของชำร่วยหรือของฝากประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงช่วยกันคิดค้น ชิ้นงานจึงได้เป็น การแปรรูปไม้ไผ่ เป็น แก้วใส่ชา กาแฟ(ของชำร่วย)แต่การตัดไผ่มาแปรรูปเป็นแก้วกาแฟนั้น ทางชาวบ้านเห็นว่า ไม้ไผ่ที่ใช้ในการทำวัตถุดิบนั้น น่าจะมี วิธีทำให้ เป็นชิ้นงานได้มากกว่า1ชิ้นหรือ เป็นเพียงแก้วน้ำ ในเวลาเดียวกันชาวบ้านได้ ไปขอความรู้ รวมถึงการทำงาน ที่ โครงการราชดำริที่ ผาเกิ้งผานาง จากนั้น จึงได้มีความคิดในการแปรวัตถุดิบที่มีทำให้เป็นชิ้นงาน กระปุกออมสิน กระบวย และ แก้ว ชาและแก้วกาแฟและมีลูกค้า และผู้สนใจมาขอสั่งซื้อ ตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา

โดยการทำงานในช่วงนั้นเป็นการรวมกลุ่มกันทำงาน ยังไม่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จนมีกลุ่มงานอื่นมาแนะนำให้ จัดตั้งรวมกลุ่ม จนได้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน(จัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ปี2547)จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันมีการแยกกลุ่มกันทำงานตามประเภทของสินค้า และได้ขยายสินค้า จากเดิมที่มีโดยปัจจุบันนี้ มีสินค้า หลายตัวที่เพิ่มจากเดิม เช่น ออมสินนอน ออมสินตั้ง ทรง กาน้ำ ปิ้นโต หม้อข้าว,โคมไฟไม้ไผ่หรือ แล้วแต่ลูกค้าจะเสนอไอเดีย ซึ่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการทำ นอกจากไม้ไผ่แล้วยังมี เศษไม้ ของไม้อื่น ๆ เช่นไม้ ประดู่ แต่ เศษไม้มีไม่เยอะหรือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ จะนำเศษไม้เหล่านั้นไว้ทำฝืน จึงหา ไม้ประเภทอื่นมาเสริมจนได้ ไม้จากต้นกถิน ที่มีความเหนียว และคงทน

โดยปัจจุบันเน้นรับงานเฉพาะงานที่ง่าย ๆ ที่ทำแล้วลูกค้า รอรับสินค้า ใช้ระยะเวลาได้ไม่นานมาก เพื่อป้องกันลูกค้ายกเลิกสินค้าที่สั้งไว้ หรือ อาจไม่มีออร์เดอร์เข้ามาเพราะ งานออกช้า ปกติแล้วลูกค้าจะสั่งของไปรอบล่ะ1000ชิ้นไป โดยสินค้า ของกลุ่มได้มีการตั้งราคาไว้ ราคาเริ่มตั้งแต่10บาทขึ้นไป หรือ ตามลักษณะและขนาดของชิ้นงาน

วัตถุดิบนั้น ได้จาก ชาวบ้านไปตัดไม้มาเสนอขาย ท่อนล่ะ5บาท(ไม้ไผ่)หรือหาตัดตามที่นาของตนหรือ ปลูกตามพื้นที่และเพือใช้เอง

การแบ่งรายได้ภายในกลุ่มนั้น จะหลักเข้ากองทุนไว้ ปันผล และทำเป็นกองทุนไว้ให้ชาวบ้านกู้ยืม งานค่าฝีมือนั้น จะหารตาม จำนวนงานที่ทำ

การตลาดรับทำตามออร์เดอร์พ่อค้าที่รับไปส่งขายตามแหล่งท่องเที่ยว ภูกะดึง,อรัญ และ กลุ่มงาน จังหวัดนครราชสีมา นั้นก็รับไปแล้วไปจ้างหาบขายอีกที

เคยมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของกลุ่ม ในหนังสือรายสัปดาห์ของ ธนาคาร ธกส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์)คอลัมม์ช่องทำกิน

การสานต่อความรู้ของกลุ่ม

ปัจจุบัน มีใน พื้นที่อื่น ๆ มาขอศึกษาดูงานและ ขอความรู้ทางกลุ่มงาน อาทิ กลุ่มงานจากกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มงานอบต อ.ภูหลวงและ จากท้องที่อื่นๆใกล้เคียง ก็ได้มีการติดต่อเข้ามา เพื่อให้ไปจัดสัมมนาสอนการแปรรูปให้ ส่วนใหญ่แล้วการเปิดสอน ต่อรุ่น ๆ นั้นใช้เวลาทั้งหมด2วัน ก็สามารถเข้าใจในหลักการแล้ว

สถานที่ตั้ง
อำเภอ หนองหิน จังหวัด เลย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่