ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 38.1648"
17.027268
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 41' 37.0536"
99.693626
เลขที่ : 169017
พระอจนะ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1366
รายละเอียด
ชื่อ พระอจนะ ที่ตั้ง วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในมณฑป เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายใน มีความสูง 15 เมตร ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 11.30 เมตร ที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า พระอจนะ มีความหมายว่า ผู้ไม่หวั่นไหว สร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่ง “มุทรา” หรือท่วงท่าการวางพระหัตถ์ที่นำมาใช้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้ ต้นตำรับชาวอินเดียให้ความหมายว่า “ความแน่วแน่ไม่หวั่นไหว” พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี่ พ.ศ. 2496-2499 วัดพระศรีเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาประชุมทัพก่อนที่จะยกทัพไปปราบเมืองสวรรคโลก อันเป็นต้นตอของตำนานเรื่อง พระพุทธรูปพูดได้ ที่เล่าขานกันต่อมา ความสำคัญ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่ มีความงดงามตามพุทธลักษณะ ทีได้ส่งอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลป์แก่บ้านเมืองร่วมสมัยและบ้านเมืองในยุคต่อมา เช่น เชียงใหม่ อยุธยา เป็นต้น ลักษณะของสิ่งของ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้น แกนในก่ออิฐและศิลาแลง หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร สูง 15 เมตร องค์พระพุทธรูปมีขนาดใหญ่เต็มวิหาร ศิลปะแบบสุโขทัย สภาพเศรษฐกิจและสังคม - สถาปัตยกรรม (ยุค) ศิลปะสุโขทัย ลวดลาย - การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของชาวสุโขทัยและประชาชนทั่วไป ผู้ครอบครองหน่วยงานที่ดูแล อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 055-697310
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่