ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 0' 20.988"
17.00583
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 49' 35.004"
99.82639
เลขที่ : 169073
พระพุทธชินสีห์
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1428
รายละเอียด
พระพุทธชินสีห์ หรือ พระนาคปรก (องค์จำลอง) ที่ตั้ง พระพุทธอุทยานสุโขทัย หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ประวัติความเป็นมา พระพุทธชินสีห์ หรือ พระนาคปรก (องค์จำลอง) ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก จังหวัดสุโขทัยได้ทำการการสร้างขึ้นมาใหม่ โดยทำพิธีเททองหล่อองค์ พระเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เวลา 19.19 น. ส่วนองค์จริงปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ความสำคัญ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุด เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปในสมัยอื่น ๆ ในอดีตองค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และประชาชนชาวสุโขทัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการก่อสร้าง พระพุทธรูปทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากนับพันองค์ หลังจากอาณาจักรสุโขทัยร่วงโรย พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในเมืองสุโขทัย จึงถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก และได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่างๆ มากกว่า 200 องค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร ลักษณะของสิ่งของ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก ฐานเป็นพญานาคเจ็ดเศียรขดสี่ชั้น เป็นพุทธบัลลังก์แผ่พังพานใต้ร่มจิก เป็นพุทธศิลปะสมัยสุโขทัย มีลักษณะอ่อนช้อย งดงาม มีชีวิตชีวา มีพระพักตร์เรียวรูปไข่ ปราศจากไรศก พระขนงโก่ง พระกรรณยาว พระโอษฐ์เล็กบาง ลักษณะคล้ายยิ้มเล็กน้อย รูปลักษณ์ขององค์กระกอบทั้งส่วนพระพักตร์และพระวรกายแสงดถึงความหมายของพระพุทธเจ้าในอุดมคติที่เปี่ยมด้วยเมตตาและแฝงไว้ซึ้งความสงบอิ่มเอิบในสภาวะ สภาพเศรษฐกิจและสังคม - สถาปัตยกรรม (ยุค) ศิลปะสุโขทัย ลวดลาย - การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ภายในอาคารพระพุทธอุทยานสุโขทัย หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ผู้ครอบครองหน่วยงานที่ดูแล จังหวัดสุโขทัย
หมวดหมู่
ศิลปวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พระพุทธอุทยานสุโขทัย
อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระพุทธอุทยานสุโขทัย
อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่