ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 52' 13.1268"
16.870313
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 47.0076"
99.796391
เลขที่ : 169118
หลวงปู่ต่วน ธมฺมปญโญ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
3 7130
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 03 บุคคลสำคัญทางศาสนา ชื่อ หลวงปู่ต่วน ธมฺมปญโญ (พระอุปัชฌาย์ต่วน หรือเจ้าคณะหมวดต่วน) ที่อยู่ปัจจุบัน มรณภาพ (อดีตเจ้าอาวาสวัดลาย หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย) เกิด เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2421 ตรงกับวัน 5 ปีขาล ณ หมู่ที่ 9 (ปัจจุบันหมู่ที่ 3) เป็นลูกชายคนโตของนายทองอยู่กับนางสายทอง อยู่นา มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 2 คน ครั้นเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. 2442) ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดวาลุการาม ตำบลโตนด กิ่งอำเภอคีรีมาศ (ปัจจุบันอำเภอคีรีมาศ) จังหวัดสุโขทัย โดยมีพระอุปัชฌาย์เผือก วัดวาลุการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์นวล วัดดุสิตดาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โต๊ะ วังบึง เป็นพระอนุสาสนาจารย์ เมื่อุปสมบทแล้ว ได้อยู่ปฏิบัติอาจารย์ และศึกษาธรรมวินัย กับอุปัชฌาย์ เป็นเวลา 2 พรรษา แล้วจึงเดินทางไปศึกษาธรรมในทางวิปัสสนาธุระ ที่วัดไพรสุวรรณ (วัดไชรรองชน) ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และไปศึกษาเพิ่มกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ -ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเงิน พุท.ธโชติ วัดบางคลาน หรือวัดหิรัญญาการาม ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของเมืองไทย - ได้ศึกษาเพิ่มเติมกับพระครูวิมลคุณากร (หลวงพ่อสุข)วัดปากคลองมะขาม เฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองวิชามากอีกองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ - ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระสังฆวรานุวงศ์เถระ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร) ซึ่ง ท่านมีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระจนได้รับพระราชทานพัดยศงาช้างสานเป็นองค์ สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ สัญชาติ ไทย ความสำคัญต่อด้านวัฒนธรรม หลังจากท่านได้ศึกษาธรรมในทางวิปัสสนามาพอสมควรแล้ว ท่านจึงกลับไปปฏิบัติธรรมที่วัดลาย ตำบลทุ่งหลวง กิ่งอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในขณะนั้นวัดนี้ยังไม่มีกุฏิและอุโบสถคงเป็นแต่วัดร้าง ชื่อว่าวัดป่าเลย์ไลยก์ ปรากฏเพียงแท่นอุโบสถและฐานเจดีย์เก่า ๆ เท่านั้น ท่านจึงได้ร่วมกับ ชาวบ้านสร้างกุฏิและอุโบสถขึ้นมาใหม่ ณ บริเวณอุโบสถเดิมโดยมีนายเพ็ง ดีทุ่ง ร่วมกับชาวบ้านได้บริจาคที่ดินทำมาหากินจำนวน 30 ไร่เศษ เพื่อสร้างวัดขึ้นโดยมีชื่อที่เรียกกันต่อมาว่า “วัดลาย” หลวงปู่ต่วน ธมฺมปญโญ เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าถึงกับอุทิศกายและใจให้กับพระพุทธศาสนา (พุท.ธศาสเน อุร. ทต.วา) อุทิศกายและใจศึกษาค้นคว้า พระ ธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนแตกฉานและได้นำพระธรรมนั้น มาสั่งสอนประชาชน ทั้งหลายให้ละเว้นจากการทำชั่วจงทำแต่ความดีมีศีลธรรม แล้วทำให้จิตใจผ่องใสจาก อกุศล จิตทั้งปวงและตลอดจนถึงตัวเอง ก็ได้ปฏิบัติธรรมและพระวินัยของพระตถาคตเจ้าอย่างเคร่งครัด ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ศึกษาธรรมในทางวิปัสสนา ผลงาน ใน พ.ศ. 2457 – 2458 พระอุปัชฌาย์ต่วน ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายสงฆ์โดยมีนายเพ็ง ดีทุ่ง เป็นหัวหน้าฝ่ายฆราวาสพร้อมด้วยชาวบ้าน ได้ร่วมกันก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ทั้งหลายตามลำดับดังนี้ พ.ศ. 2458 ได้จัดสร้างเว็จกุฏี 1 หลัง พ.ศ. 2459 ได้จัดสร้างหอฉันหอสวดมนต์ 1 หลัง พ.ศ. 2460 ได้จัดสร้างกุฏี 5 ห้อง 1 หลัง พ.ศ. 2462 ได้จัดสร้างกุฏี 5 ห้อง 1 หลัง พ.ศ. 2466 ได้จัดสร้างกกุฏี 5 ห้อง 1 หลัง พ.ศ. 2468 ได้จัดสร้างหอระฆัง 1 หลัง พ.ศ. 2469 ได้จัดสร้างศาลากัมมัฏฐาน 1 หลัง พ.ศ. 2475 ได้เริ่มก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยสร้าง ณ บริเวณอุโบสถเดิม กว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร ฝาผนังเทคอนกรีตเสริมเหล็ก และเครื่องบนเป็นไม้สัก สิ้นค่าก่อสร้าง 1,700 บาท (หนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) พ.ศ. 2480 ได้รับถวายเรือนแฝด หลังคามุงสังกะสี จากนางไฝ่ ไม่ทราบนามสกุล และได้ยกเสร็จเรียบร้อยในปีเดียวกัน พ.ศ. 2481 ได้จัดสร้างกุฏี 4 ห้อง 1 หลัง พ.ศ. 2482 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา และยกช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,000 บาท พ.ศ. 2483 ได้จัดสร้างแท่นใบเสมาซึ่งทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พ.ศ. 2485 ได้จัดสร้างพระประธานในอุโบสถ (พระพุทธสีมาชัยสิทธิ) หน้าตักกว้าง 2 ศอก 10 นิ้ว สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,000 บาท และสร้างระฆัง 1 ใบ ค่าก่อสร้าง 120 บาท รางวัลที่ได้รับ องค์กร หน่วยงาน วัดลาย หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
วัดลาย
เลขที่ หมู่ที่ 3
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดลาย
เลขที่ หมู่ที่ 3
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่