ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 52' 13.1268"
16.870313
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 47' 47.0076"
99.796391
เลขที่ : 169127
วัดลาย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1815
รายละเอียด
ชื่อสถานที่ วัดลาย สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย จดทะเบียนปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2481 ประวัติความเป็นมา ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัย ประมาณ 18 กิโลเมตร มีเนื้อที่บริเวณเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส จำนวน 39 ไร่ 48 งาน ½ ตารางวา ความเป็นมาของวัดลายนี้แต่เดิมมาเป็นวัดร้างเก่าแก่วัดหนึ่งคู่มากับกรุงสุโขทัยเมื่อหนึ่งพันแปดร้อยปีมาแล้ว เป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต จากการสันนิษฐานโบราณวัตถุทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ก็คือ แท่นอุโบสถเก่า แท่นเจดีย์เก่าและใบเสมา 2 ใบ ซึ่ง ใบ เสมาแกะสลักลายเส้นลงบนแผ่นหิน อายุอิฐที่ฐานของอุโบสถก็เช่นเดียวกับอิฐที่ฐานอุโบสถและฐานเจดีย์เมืองเก่า สุโขทัย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอุโบสถมีหอไตร 1 สระ ที่ว่าเป็นสระหอไตร ก็เพราะว่าทางวัดขุดพบเสาสี่ต้นอยู่กลางสระ และปัจจุบันนี้ยังคงปรากฏอยู่เช่น ด้านตะวันตกเฉียงใต้ (ริมบึง) มีสระน้ำ 1 สระ เข้าใจว่าเป็นสระน้ำสำหรับใช้ในการบริโภค แต่ในปัจจุบันนี้ทางวัดกลบไปแล้ว คงยังเหลืออยู่ทางทิศตะวันออกอีก 1 สระ และยังคงอยู่ เมื่อ พ.ศ. 2457 – 2458 พระอุปัชฒาย์ต่วน ธม.มปญโญ (หลวงพ่อต่วน) เจ้าอาวาสวัด เป็นหัวหน้าฝ่ายสงฆ์ โดยมีนายเพ็ง ดีทุ่ง เป็นหัวหน้าฝ่ายฆราวาสได้ร่วมกับประชาชนถวายที่ดินบริเวณวัดร้างซึ่งเป็นที่ทำมาหากิน จำนวน 30 ไร่ เศษ เพื่อสร้างกุฏิและอุโบสถขึ้นมาใหม่ ณ บริเวณอุโบสถเดิม โดยสร้างเป็นอุโบสถเดิม โดยสร้างเป็นอุโบสถเทคอนกรีตเสริมเหล็ก เสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2462 และได้สร้างกุฏิและเสนาสนะสงฆ์เพิ่มขึ้นโดยลำดับ ตำนานที่เกี่ยวข้อง/ความเชื่อ (ถ้ามี) ชาวบ้านเรียกว่าวัดลายมาแต่เดิมเช่นกัน กล่าวคือ หมู่บ้านนี้มีชื่อว่าหมู่บ้านบึงวัดลาย จะสังเกตคำว่า “บึง” อยู่หน้าวัด ต่อ ๆ มาคำว่า “บึง” ก็เลือนหายไป คงเรียกกันแต่เพียงหมู่บ้านวัดลาย จะสังเกตว่า “บึง” อยู่หน้าวัด ต่อ ๆ มาคำว่า “บึง” ก็เลือนหายไป คงเรียกกันแต่เพียงหมู่บ้านวัดลาย และอีกนัยหนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าใบเสมาที่ปรากฏอยู่ 2 ใบนั้น เป็นใบเสมาหินแกะสลักแผ่นหินที่วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย จะด้วยเหตุนี้อีกอย่างหนึ่งก็ได้ ที่คณะผู้ก่อสร้างวัดในขณะนั้นได้ขนานนามวัดนี้ว่า “วัดลาย” เพราะใบเสมาลาย ส่วนหลักฐานอย่างอื่นไม่ปรากฏ ลักษณะเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสถานที่ มีพระอุโบสถ เก่าแก่สมัยสุโขทัย และยังมีหอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลาการเปรียญ ที่เก่าแก่และมีความสวยงาม ความสำคัญ เป็นวัดเก่าแก่ที่คู่กับบ้านทุ่งหลวงมาเป็นเวลานาน กลุ่มคนที่ใช้ ชาวบ้านทุ่งหลวงและประชาชนทั่วไป จำนวนผู้อยู่อาศัย มีพระภิกษุจำพรรษา ตั้งแต่ 10 – 15 รูป ผู้ดูแล พระอธิการอดเรก ธม.มวโร
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดลาย
เลขที่ หมู่ที่ 3
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดลาย
เลขที่ หมู่ที่ 3
ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอ คีรีมาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่