ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 55' 58.4652"
16.932907
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 23.4144"
99.956504
เลขที่ : 169141
หลวงพ่อโต(วิหารลอย)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1249
รายละเอียด
เครื่องมือจัดเก็บข้อมูล 16 ศาสนาและความเชื่อ ชื่อ หลวงพ่อโต(วิหารลอย) ความหมาย คำจำกัดความ นิยาม - ประวัติ ตำนาน ความเป็นมา หลวงพ่อโต(วิหารลอย) อยู่ในวิหารวัดกงไกรลาศ ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ที่เก่าแก่ของจังหวัดสุโขทัย สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ได้ระบุแน่ชัด เล่ากันว่าในสมัยที่พม่ายกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกได้เดินทัพผ่านและพักแรมที่บ้านกงแห่งนี้ ด้วยความคึกคะนองและอยากลองดีของทหาร ได้ยิงปืนใหญ่ถล่มวิหารจนพังเสียหาย แต่ไม่ระคายองค์พระแม้แต่น้อยมีเพียงรูทะลุด้านว้ายให้เห็นเพื่อเตือนให้ระลึกถึงความต่ำทรามของทหารพม่าเท่านั้น ความเสียหายของวิหารครั้งนั้น หลวงพ่อต้องตากแดดตากฝนอยู่นานหลายพรรษา จนกระทั่งคืนหนึ่งของวันเพ็ญเดือนสาม ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดนั้น ได้ยินเสียงแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่นมาจากทางวัด แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจนกระทั่งรุ่งเช้า ต่างพบว่าหลวงพ่อโตได้แสดงปาฏิหาริย์เคลื่อนองค์ท่าน จากที่เดิมไปประทับที่ใต้ต้นคูณ ซึ่งห่างจากที่เดิมราวสามวา สำหรับคำว่า “วิหารลอย” นั้น เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ถึงอภิหารของหลวงพ่อโต ซึ่งเกิดจากการสังเกตของชาวบ้านว่า ทุกปีที่น้ำท่วมล้นแม่น้ำยมซึ่งติดกับวัด ศาลา และกุฏิต้องยกสูงมากกว่าหกศอก เพื่อหนีน้ำแต่วิหารหลวงพ่อโตอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น กลับเสมือนลอยพ้นน้ำ ดังที่ได้เกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2485 สิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาตินี้ คนโบราณได้กล่าวกันว่าเกิดขึ้นเพราะใต้วิหารหลวงพ่อ มีเรือสล่าเงินและทองหนุนค้ำให้วิหารลอยน้ำ โดยมีโซ่ล่ามมาผูกที่ต้นโพธิ์ สาระสำคัญวัตถุประสงค์ หลวงพ่อโต เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านกง เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้ทุกคนทำความดีเว้นความชั่วประกอบอาชีพโดยสุจริต ด้วยบารมีของหลวงพ่อโตจะอำนวยพรปกป้องคุ้มครองให้บุคคลเหล่านั้นประสบแต่ความสุขความเจริญ กลุ่มคนที่เชื่อ ชาวบ้านกงและประชาชนทั่วไป โอกาส ฤดูกาล เวลา สถานที่ ด้วยคติความเชื่อของชาวพุทธที่เคารพบูชา ทุกปีของวันเพ็ญเดือนสี่ หรือหลังฤดูเกี่ยวข้าวชาวบ้านจะจัดเทศกาล เพื่อฉลองสมโภชน์หลวงพ่อโต เป็นงานใหญ่ที่คนทั่วสารทิศจะเดินทางมานมัสการหลวงพ่อ เพื่อเป็นสิริมงคลทั้งต่อตนและครอบครัว รูปแบบความเชื่อ ลักษณะการแสดงออกและรูปแบบกระบวนการพิธีกรรม - รูปเคารพ สิ่งที่นับถือในความเชื่อและการประกอบพิธีกรรม พระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องบูชา เครื่องสังเวยในพิธีกรรม ดอกไม้ ธูป เทียน แผ่นทอง ตำรา มนต์ อุปเท่ห์ - สำนัก เจ้าสำนัก เจ้าพิธี สาวก สานุศิษย์ - การเรียนรู้ การฝึกหัด การถ่ายทอด การสืบทอด -
สถานที่ตั้ง
วัดกงไกรลาศ
ตำบล กง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง หนังสือกงไกรลาศวันวาน
หมู่ที่/หมู่บ้าน กง
ตำบล กง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่