ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 30' 6.4224"
17.501784
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 29.0844"
99.758079
เลขที่ : 169159
ผ้าตีนจก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2461
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 14 เครื่องแต่งกาย ชื่อ ผ้าตีนจก ประเภท เครื่องแต่งกาย ประวัติความเป็นมา การ ทอผ้าตีนจกแบบดั้งเดิมของชาวไทยพวนหาดเสี้ยว จะใช้ขนเม่นในการจก ( ล้วง ) ฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน บนเส้นยืน โดยจะทอผ้าจากด้านหน้าของผ้าจก ( ผ้าตีนจกของที่อื่นๆ เช่น ผ้าจกแม่แจ่ม ผ้าจกราชบุรี จะทอจากด้านหลัง ) ลักษณะเด่นของผ้าตีนจกไทยพวนหาดเสี้ยว ผ้าตีนจกไทยพวนมีลักษณะที่แตกต่างจากผ้าตีนจกของที่อื่นๆ คือ การใช้ขนเม่นในการจกฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน บนเส้นยืน ให้เป็นไปตามลวดลายโดยมิได้มีการเก็บลวดลายไว้ล่วงหน้า ผู้ทอผ้าตีนจกจะต้องใช้ความชำนาญในการจดจำลวดลาย เพื่อให้การทอผ้าเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และการทอผ้าแต่ละแถว จะต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะ เพราะต้องนับเส้นด้ายแต่ละเส้น เพื่อใส่ด้ายสีในการจกเข้าไปโดยใช้ขนเม่นในการสอดด้ายสีนั้นๆ ระยะเวลาในการทอผ้าตีนจก จึงต้องใช้เวลานานกว่าผ้าประเภทอื่นๆ แต่เมื่อแล้วเสร็จ ผ้าตีนจก จะเป็นผ้าที่มีความงดงาม ประณีต กว่าผ้าผืนใดๆ ของชาวไทยพวน ลวดลาย โครงสร้างของผ้าตีนจกไทยพวนหาดเสี้ยว ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ลายประกอบ 2.ลายหลัก ลายประกอบของผ้าตีนจก ลายประกอบของผ้าตีนจก แต่ละลายจะมีความแตกต่างกันไป และมีความหมายแฝงอยู่ในตัวเอง ดังนี้ 1. พันคิง ลักษณะเป็นขีดเล็กๆ เรียงต่อกันไปเป็นแถวยาว เป็นลายที่ใช้คั่นสลับระหว่างลายต่างๆ 2. ลายนกคุ้ม ลักษณะ เป็นรูปนกตัวเล็กๆสองตัว ยืนเข้าหากันในกรอบเป็นคู่ๆ หมายถึง การอยู่คุ้มเหย้าคุ้มเรือน คุ้มผัวคุ้มเมีย บังเกิดเป็นศิริมงคลต่อการใช้ชีวิตคู่ 3. ลายนกคาบ ลักษณะเป็นนกเล็กๆ สองตัวหันหน้าชนกัน และคาบดอกไม้ร่วมกัน หมายถึงการให้สัจจะวาจาที่จะครองรักร่วมกันอย่างจีรังยั่งยืน 4. ลายนกหมู่ ลักษณะ เป็นนกเล็กๆ ยืนเรียงต่อกันไปตลอดผืน หมายถึงการไปเป็นหมู่เป็นพวก ไม่มีความขัดแย้งทั้งในด้านความคิดและการกระทำ บังเกิดความสามัคคี 5. ลายดอกหมี่ ลักษณะเป็นลายคล้ายดอกไม้ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม 6. ลายผีเสื้อ ลักษณะเป็นลายคล้ายผีเสื้อ ตกแต่งให้เกิดความสวยงาม 7. ลายฟันปลา ลักษณะเป็นซี่เล็กๆสูงต่ำคล้ายฟันปลา 8. ลายสร้อยพร้าว ลักษณะคล้ายก้างปลาวางเป็นแนวติดต่อกัน เป็นลายประกอบเพื่อความสวยงาม 9. ลายเครือขอ ลักษณะรูปทรงคล้ายตะขอวางตัวในมุมเอียง แต่ละขอเกาะเกี่ยวกันเป็นเครือยาว 10. ลายสร้อยสา ลักษณะ จะประกอบด้วย หัวสร้อยสา และมีหางเป็นเส้นตรงยาวลงมาเกือบจรดเชิงผ้า เพื่อเพิ่มความอ่อนช้อยให้กับผ้าตีนจก ซึ่งลายนี้จะเป็นลายสุดท้ายของผ้าตีนจก ลายหลักของผ้าตีนจก ลาย หลักของผ้าตีนจก เป็นลายที่อยู่ตรงกลางของผ้าตีนจก มีลักษณะที่เด่นกว่าลายประกอบ ลายหลัก ที่เป็นลายแบบโบราณ ของชาวไทยพวนหาดเสี้ยว มีทั้งหมด 9 ลาย ดังนี้ 1. ลายเครือน้อย เป็น ลายหลักที่ทอได้ง่าย สามารถให้เด็กฝึกหัดทำได้ โครงสร้างของลายไม่ซับซ้อน ลายประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ ของลายเครือน้อย คือ จะใช้นกหมู่แทนนกคาบ ในสมัยก่อนตีนจกลายเครือน้อย จะต่อกับซิ่นมุก 2. ลายเครือกลาง เป็น ลายหลักที่คล้ายกับลายเครือน้อย แต่เพิ่มความยากในการจกมากขึ้น ลายประกอบ จะใช้ลายประกอบ ทั่วๆไปเหมือนกับลายอื่นๆ ในสมัยก่อนตีนจกลายเครือกลางมักจะต่อกับซิ่นเข็น 3. ลายเครือใหญ่ เป็น ลายหลักที่มีดอกไม้อยู่ตรงกลาง ลายประกอบจะใช้ลายประกอบทั่วๆไปเหมือนกับลายอื่นๆ ในสมัยก่อน ตีนจกลายเครือใหญ่ มักจะต่อกับซิ่นมุก 4 . ลายสี่ขอ เป็น ลายหลักที่คล้ายลายสิบสองหน่วยตัด แต่มีขนาดเล็กว่า คือ มี 4 ขอ ส่วนใหญ่เป็นผ้าซิ่นสำหรับเด็ก ในสมัยก่อน ตีนจกลายสี่ขอ มักจะต่อกับซิ่นตาหว้า 5 . ลายแปดขอ เป็น ลายหลักที่คล้ายกับลายมนสิบหก แต่ขนาดเล็กกว่า ลายประกอบที่มีลักษณะเด่น คือ จะใช้ลายนกแถว แทนลายนกคาบ ในสมัยก่อนตีนจกลายแปดขอ มักจะต่อกับซิ่นอ้อมแดง 6. ลายน้ำอ่าง เป็น ลายหลักที่มีนกสองตัวคาบดอกไม้ร่วมกัน คล้ายกับการคาบในอ่างน้ำ ลายประกอบ จะใช้เหมือนกับ ลายอื่นโดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายน้ำอ่าง มักจะต่อกับซิ่นเข็น 7. ลายสองท้อง เป็น ลายหลักที่คล้ายกับลายน้ำอ่างแต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ นอกจากจะมี นกใหญ่สองตัว คาบดอกไม้ร่วมกันแล้ว ยังมีนกอีกสองตัว ที่มีขนาดเล็กคาบดอกไม้ร่วมกัน อยู่ด้วย ทำให้ลายสองท้อง มีขนาดใหญ่กว่า ลายหลักอื่นๆ และลายประกอบที่แตกต่างจากลายหลักอื่นๆ คือ จะใช้ลายผีเสื้อแทนลายดอกหมี่ 8 . ลายมนสิบหก เป็น ลายหลักที่มีมุม 16 มุม มีลักษณะคล้ายกับลายแปดขอ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลายประกอบ จะใช้เหมือนกับ ลายอื่นๆโดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายมนสิบหก มักจะต่อกับซิ่นตาเติบ 9 . ลายสิบสองหน่วยตัด เป็น ลายหลักที่มีขอ 12 ขอ มีขาพันทำเป็นสามเหลี่ยม และมีนกคาบตัวเล็กอยู่ตรงกลาง ลายประกอบ จะใช้เหมือนกับ ลายอื่นๆ โดยทั่วไป ในสมัยก่อนตีนจกลายสิบสองหน่วยตัด มักจะต่อกับซิ่นตาหว้า สี - วัสดุที่ใช้ ผ้าฝ้าย วิธีทำ การทอผ้าตีนจก จะใช้อุปกรณ์พิเศษในการทอ คือ ใช้ “ ขนเม่น ” ใน การจกฝ้ายจากด้านล่างขึ้นด้านบน บนเส้นยืน โดยทำลวดลายไป ขณะที่ทอ ไม่มีการเก็บลายไว้ล่วงหน้า ผู้ทอจะจำลวดลายได้เองว่าการทอผ้าในแถวต่อไปจะต้องจกอย่างไร ช่วงที่เริ่มต้นลายใหม่ เรียกว่า “ ก่อลาย ” ผู้ ทอจะต้องใช้ตัวอย่างผ้า ลายนั้นๆ มาดูเพื่อเริ่มต้นลาย ดังนั้น ผู้ฝีกทอผ้าตีนจก จะถูกฝึกให้ดูลวดลาย จากชิ้นผ้ามาก่อน แล้วแกะลาย สำหรับทอผ้า ในคราวต่อๆไป ปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่ จะดูจากลายผ้า ไม่ค่อยเป็น จะต้องเก็บลาย บนตารางแผ่นกราฟ เพื่อให้ผู้ฝึก ดูลวดลายได้ง่ายขึ้น ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง -
สถานที่ตั้ง
สุนทรีผ้าไทย
เลขที่ เลขที่ 329
ตำบล หนองอ้อ อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ เลขที่ 329
ตำบล หนองอ้อ อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่