เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อ ล้อ (เกวียน)
ประเภทและลักษณะ ล้อ(คำเรียกของไทยพวน) หรือ เกวียน หรือบางท้องที่เรียก “กระแทะ” เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง แต่ละท้องถิ่นจะมีรูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไป เกวียนทำจากไม้เนื้อแข็ง มีล้อ 2 ล้อ และตัวเรือนมีลักษณะ เป็นแคร่สี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบรรทุกสิ่งของหรือคน โดยจะยกขอบด้านข้างทั้ง 2 ข้างสูง ใช้ไม้กระดานปูพื้น บ้างก็มีประทุนครอบกันแดดฝน ให้แก่ผู้ขับและผู้โดยสารหรือสิ่งของที่บรรทุก
การใช้ประโยชน์: เป็นพาหนะใช้เดินทางและบรรทุกข้าวหรือสิ่งของ ไปในที่ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา ล้อเป็นพาหนะที่สำคัญของคนสมัยก่อนทั้งในขนสัมภาระเสบียงสำหรับใช้ในการออกศึก ใช้ขนของในการหลบหนีอพยพ เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้บรรทุกข้าวขึ้นยุ้ง ขนของหรือสินค้าออกไปขายในต่างถิ่นต่างแดนจนถึงต่างประเทศ และใช้ในการขนพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาด
ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง -
วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง
วิธีทำ การบังคับล้อ จะใช้วิธีเจาะจมูกร้อยสายตะพายโยงวัวหรือควาย ไปที่ผู้ขับบนเกวียนถือสำหรับบังคับให้วัว หรือควายหยุดเดินหรือเลี้ยว ในการบังคับวัวหรือควายนั้น มีภาษาชาวนาที่ใช้กับวัวหรือควายอยู่ 2 - 3 คำคือคำว่า "ทูน" แปลว่า ชิดข้างใน "ถัด" แปลว่าชิดข้างนอก "ยอ" แปลว่า หยุด เป็นต้น
บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต -
วิธีการเรียนการสอน -
ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้ขนส่งทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ขนสินค้าและสัมภาระที่ต้องการ เป็นพาหนะสำหรับใช้เดินทาง
สถานที่ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย