ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169196
บั๊งลัน (ด้วงหนู)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1876
รายละเอียด
ชื่อ บั๊งลัน (ด้วงหนู) ประเภทและลักษณะ บั๊งลัน หรือ ด้วงหนู เป็นเครื่องมือใช้สำหรับดักหนู ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร การเลือกขนาดลำไม้ไผ่มาทำกระบอก แล้วแต่การคาดคะเนว่าจะดักหนูตัวโตขนาดใด ถ้าคิดว่าดักหนูขนาดปานกลางก็ใช้กระบอกให้พอเหมาะ แต่ถ้าดักหนูขนาดใหญ่ ลำไม้ที่นำมาทำกระบอกจะต้องมีขนาดใหญ่ด้วย ใช้กระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ด้านหนึ่งให้เหลือข้อภายในไว้ทำเป็นก้นด้วง มีลักษณะก้นตันปลายปากกระบอกด้านหนึ่งกลวงสำหรับให้หนูเข้ามาทางปลายกลวง เหลาซี่ไม้ไผ่เป็นคันแร้วเรียวปลายยาวประมาณ 1 เมตร โคนคันแร้วเสียบกับรูกระบอกด้านก้นด้วง ผูกเส้นเชือกปลายคันแร้ว เส้นเชือกมีความยาวขนาดคันแร้วเจาะรูกระบอกไม้ไผ่ 2 รู ด้านปลายปากกระบอก เพื่อร้อยเส้นเชือกไว้เป็นห่วงรัดตัวหนู ระหว่างรูที่เจาะ 2 รูนั้น ร้อยเชือกสั้น ๆ ทำเป็นห่วงไว้ร้อยกับปิ่นขัดมัดปิ่นเกือบกึ่งกลางเส้นเชือกนำไปขัดกับไม้เสียบอาหาร ไม้ขัดหรือไม้ลิ้นพาดปากกระบอกซึ่งทำหน้าที่เสมือนไก ประวัติความเป็นมา บั๊งลัน เป็นคำเรียกของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย เป็นเครื่องดักหนู ในฤดูหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ในช่วงนี้มีหนูแพร่พันธุ์มากที่สุด โดยจะกินเมล็ดข้าวเปลือกในท้องทุ่งนา ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงคิดทำเครื่องมือดักหนู ซึ่งเรียกว่า ด้วง หรือด้วงหนู นอกจากด้วงจะช่วยกำจัดหนูในนาแล้ว ยังดักหนูไว้ทำเป็นอาหารที่เอร็ดอร่อยอีกอย่างหนึ่ง ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ วิธีดักหนู จะเลือกดักหนูบริเวณคันนา ข้างรูหนู หรือทางเดินของหนูที่เรียกว่า ด่านหนู ใช้ปลายปากกระบอกขวางทางไว้ อาจวางด้วงไว้ในแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ ใช้ไม้ขัดเสียบอาหารประเภทเนื้อมะพร้าวเผาปลาเค็ม หรือใส่เมล็ดข้าวเปลือก ข้าวสารไว้ก้นด้วง ดึงเส้นเชือกที่ผูกปิ่นขัดไว้ให้ตึง คันแร้วจะโก่งตามด้วยใช้ปลายปิ่นข้างหนึ่งไปขัดกับบ่าไม้ซึ่งใช้เสียบเหยื่อ อีกข้างหนึ่งเสียบกับห่วงตรงกลาง เมื่อปิ่นกับไม้เสียบอาหารหรือไม้ขัด ซึ่งขวางกระบอกขัดกัน แล้วจะทำให้เส้นเชือกด้านล่างหย่อน ทำให้เป็นห่วง ปลายปากกระบอกด้านในแซะร่องไว้เป็นรางวางเชือก เมื่อหนูได้กลิ่นเหยื่อจะล่อเข้าไปในกระบอกไปดึงหรือไปถูกไม้เสียบอาหารที่ขัดกับปิ่นไว้จะหลุด คันแร้วจะกลั่นขึ้นโดยเร็ว ห่วงที่หนูกำลังคร่อมอยู่ก็จะรัดโดยเร็ว และรัดคอหรือตัวหนูทันที บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นเครื่องมือใช้ดักหนูซึ่งเป็นศรัตรูข้าวของชาวนา สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่