ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 31' 30.1188"
17.525033
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 45' 58.0068"
99.766113
เลขที่ : 169203
อีจู้
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1554
รายละเอียด
ชื่อ อีจู้ ประเภทและลักษณะ เป็นเครื่องมือประมง อีจู้ มีลักษณะกลมป่องส่วนก้น แล้วเรียวที่ส่วนบน คล้ายคนโทใส่น้ำบ่างชนิด หรือคล้ายรูปหม้อคอสูง ขนาดของอีจู้โดยทั่วไปวัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนก้นมีความยาวตั้งแต่ ๒๐ - ๔๐ เซนติเมตร เมื่อวางตั้งมีความสูงตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตร จน สูง ๑ เมตร การสานอีจู้ใช้ตอกไม้ไผ่เหลาบาง ๆ เริ่มสานที่ก้นเป็นลายขัดสี่เหลี่ยมเป็นตาห่าง ๆ แต่ต้องไม่ให้ปลาไหลลอดออกไปได้ แล้วสานในแนวตั้งขึ้นมาเป็นลายขัดทึบ สานปลายปากอีจู้เรียวแคบลงทีละน้อย ๆ ส่วนริมปลายปากจะบานออกเล็กน้อย เพื่อวางที่ปิดส่วนใหญ่ใช้กะลามะพร้าว หรือเศษฟางเศษหญ้าจุกปากให้แน่น ริมก้นอีจู้ด้านหนึ่งใดจะสานเป็นช่องวงกลมไว้ เพื่อใส่งาแซมให้ปลาไหลเข้า โดยทั่วไปแล้วอีจู้แต่ละอันจะมีงาแซงอยู่ ๑ ช่องเท่านั้น ภายในสานไส้อีจู้จะทำด้วยไม้ไผ่ลายขัดห้างๆทำเป็นกรวยใส่เหยื่อล่อปลาไหล บางทีเรียกว่า “ กะพล้อ ” หรือรอง สามารถดึงเข้าดึงออกได้ เหยื่อที่ใส่ให้ปลาไหลเข้าไปกิน มักใช้เนื้อหอยโข่งนา ปูตายทุบให้แหลกหรือเนื้อปลาสับ ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีงาแซงอยู่ริมก้นใส่เหยื่อไว้ในกะพล้อ บางแห่งเรียกว่าอีจู้ว่า กระจู้ หรือจู้ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้ไผ่ วิธีทำ การดักปลาไหลจะดักในน้ำนิ่งตามริมหนอง คลอง บึง หรือตามแปลงนา ความลึกของน้ำไม่มากนัก ต้องให้ส่วนปลายปากอีจู้โผล่พ้นน้ำเพราะปาลไหลจะได้ขึ้นมาไม่ได้ ใช้ใบหญ้าคลุมอีจู้แต่งช่องทางให้ปลาไหลเข้าไปทางงาแซงได้สะดวก ช่องงาแซงอยู่ในระดับพื้นดินใต้น้ำพอดี ปลาไหลซึ่งชองอาศัยอยู่ในโคลนเลน เมื่อได้กลิ่นเหยื่อจะหาทางเข้าไปกิน จนกระทั่งเข้าช่องงาแซงนั้น แต่ก็ไม่สามารถกินเหยื่อได้เพราะใส่ไว้ในกะพล้ออีชั้นหนึ่ง ทำให้เหยื่อไม่หมด ปลาไหลตัวอื่น ๆ จะเข้าไปอีก การกู้อีจู้อาจกู้วันละครั้ง หรือดักไว้หลาย ๆ วันก่อนจึงมากู้ก็ได้ บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต เป็นเครื่องมือดักปลาของชาวบ้านสมัยก่อน วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา การดักปลาไหลจะดักในน้ำนิ่ง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เลขที่ 477 หมู่ที่ 2 บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ
เลขที่ เลขที่ 477 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านหาดเสี้ยว
ตำบล หาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ โทร. 0 5567 1143, 0
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่