ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 19' 18.012"
17.32167
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 33' 5.004"
99.55139
เลขที่ : 169243
พุทธวิหารลายคำ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 2718
รายละเอียด
ชื่อสถานที่ พุทธวิหารลายคำ สถานที่ตั้ง วัดพิพัฒน์มงคล ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย จดทะเบียนปี - ประวัติความเป็นมา พุทธวิหารลายคำ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระแก้วรัตนชาติและหลวงพ่อทันใจ พุทธวิหารลายคำหลังนี้ สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ไม้ที่ใช้สร้างล้วนมีอายุประมาณ 100 กว่าปี ลักษณะวิหารเป็นศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะไทลื้อในสิบสองปันนา และวิหารหลวงที่หลวงพระบาง ประเทศลาว ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตมาก่อน พุทธวิหารมีความกว้าง 15 เมตร แบบย่อมุมความยาว 32 เมตร ฐานเป็นปูนบัวคว่ำ ฝาผนังบุสองชั้นหลังคาลั่น 3 มุข 2 ชายคา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ แกะสลักพร้อมลงรักปิดทองคำแท้ทั้งหมด สร้างด้วยงบประมาณ 23 ล้านบาท ปัจจุบันนี้ ได้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระธาตุรากขวัญไหปลาร้า) ซึ่งได้อัญเชิญมาจากมาจากประเทศศรีลังกา โดยสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายสยามวงศ์ในนครแคนดี้ ประดิษฐานพระแก้วรัตนชาติ ซึ่งประกอบด้วยสีมรกต บุษราคัม ไพลิน ทับทิม และเพชนน้ำค้าง ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว 7 นิ้ว และ 9นิ้ว ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อทันใจ พุทธรูปลักษณะเป็นศิลปะสุโขทัยหน้าตัก 16 นิ้ว ตำนานที่เกี่ยวข้อง/ความเชื่อ (ถ้ามี) - ลักษณะเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสถานที่ เป็นวิหารเป็นศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะไทลื้อในสิบสองปันนา สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ความสำคัญ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลุ่มคนที่ใช้ ประชาชนทั่วไป จำนวนผู้อยู่อาศัย - ผู้ดูแล พระครูวรคุณประยุต
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพิพัฒน์มงคล
เลขที่ เลขที่ ๔๖๔
ตำบล ทุ่งเสลี่ยม อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดพิพัฒน์มงคล
เลขที่ เลขที่ ๔๖๔ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านท่าชุม
ตำบล ทุ่งเสลี่ยม อำเภอ ทุ่งเสลี่ยม จังหวัด สุโขทัย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่