ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 1' 30"
13.025
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 55' 9.876"
99.91941
เลขที่ : 169308
การทำน้ำตาลโตนดแบบปึก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : เพชรบุรี
0 3981
รายละเอียด
การทำน้ำตาลปึกมีทำที่อำเภอบ้านลาด เนื่องจากมีต้นตาลขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้เริ่มหันมายึดอาชีพทำน้ำตาลปึก และทำน้ำตาลปึกจำหน่ายเสริมรายได้จากอาชีพทำไร่ทำนา ทำให้มีรายได้ดีขึ้น และยึดเป็นอาชีพหลักจนถึงปัจจุบัน สำหรับขั้นตอนการทำน้ำตาลปึกก็มีวิธีการดังนี้ โดยเริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ซึ่งประกอบไปด้วย ๑.ไม้พะองตาล ใช้ไม้ไผ่ป่ามาพาดกับต้นตาล ต้นตาล 1 ต้น จะใช้ไม้พะอง 2 อัน โดยมัดติดกับต้นตาล สำหรับปีนขึ้นต้นตาลได้ง่าย ๒.ไม้นวดจะมี 2 แบบ คือ ไม้นวดตัวเมียและไม้นวดตัวผู้ ไม้นวดตัวเมียจะกลมยาวประมาณ 1.50 เมตร ใช้สำหรับนวดงวงตาลตัวเมีย ไม้นวดตัวผู้จะแบนยาวประมาณ 1 เมตร ใช้สำหรับนวดตาลตัวผู้ โดยชาวบ้านมีข้อห้ามเกี่ยวกับไม้นวดตาลว่า ห้ามข้ามไม้นวดทั้ง 2 แบบ เพราะจะทำให้ประสบอันตราย และมีอันเป็นไปได้ ๓. มีดปาดตาล ใช้สำหรับปาดงวงตาลและดอกตาล จะมีความคมมาก ๔. กระบอกตาล ใช้สำหรับรองรับน้ำตาลจากงวงตาลและดอกตาล เพื่อให้ได้น้ำตาลจากยอดตาลมาทำต่อ ๕.เตารมกระบอก ใช้สำหรับรมไฟให้ความร้อนกระบอกตาลก่อนที่จะนำกระบอกตาลไปรองรับน้ำตาลสดจากยอดตาล เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในน้ำตาล ๖.เตาเคี่ยวน้ำตาล ใช้สำหรับเคี่ยวน้ำตาลให้เหนียว ๗. กระทะ ใช้กระทะใบบัวใหญ่เพื่อเคี่ยวน้ำตาล ครั้งหนึ่งจะเคี่ยวได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ๘. ไม้คนใช้ไม้ขนวน สำหรับคนน้ำตาลที่เคี่ยวได้ที่แล้ว หลังจากลงจากเตาเพื่อให้เกิดความเหนียวของน้ำตาล ๙.กระชอนกรองน้ำตาลใช้สำหรับกรองเศษผงที่อาจติดมากับน้ำตาลสด ๑๐. ไม้แป้น ใช้สำหรับหยอดน้ำตาลลงในเบ้าที่เตรียมไว้ ๑๑.กะลาหยอดน้ำตาล ใช้สำหรับตัดน้ำตาลที่เคี่ยวแล้วหยอดในเบ้า ๑๒.พิมพ์หยอดน้ำตาล สำหรับหยอดน้ำตาลลงในพิมพ์หรือเบ้า เพื่อให้ได้น้ำตาลปึกตามที่ต้องการและเก็บรักษาไว้ได้นาน ๆ เบ้าน้ำตาลปึกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ลึก 1 นิ้ว เบ้า 1 แผ่น สามารถหยอดน้ำตาลได้ 40 อัน สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ก็คือ ใช้น้ำตาลสดที่รองจากงวงตาลล้วน ๆ เคี่ยวเท่านั้น โดยไม่มีส่วนผสมอย่างอื่น จึงจะได้น้ำตาลสดที่แท้จริง วิธีทำก็คือ การผลิตน้ำตาลปึก จะใช้วิธีการนำน้ำตาลสดมาเคี่ยวประมาณ 30 – 45 นาที แล้วนำมาพักไว้และก็เคี่ยวน้ำตาลต่อไปอีกประมาณ 30 – 40 นาที รวมแล้วการเคี่ยวน้ำตาลปึก 1 กระทะ จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดยดูได้จากน้ำตาลในกระทะจะงวดลง และจะมีความเหนียวในตัวเองแล้วจึงยกกระทะมาที่อุปกรณ์ไม้คน เพื่อทำการคนน้ำตาลในกระทะต่อ โดยใช้ไฟอ่อน ๆ คนไปจนกว่าน้ำตาลเริ่มแห้งและเหนียวก็ยกเอาน้ำตาลมาหยอดที่แป้นหยอดน้ำตาลตามเบ้า โดยจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงแกะน้ำตาลปึกออก รอให้เย็นจึงบรรจุลงในถุงหรือกล่อง ๆ ละ 20 กิโลกรัม แล้วทำการจำหน่ายต่อไป การทำน้ำตาลปึก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพที่น่าอนุรักษ์ส่งเสริมให้ยั่งยืนตลอดไปสำหรับระยะเวลาในการเก็บน้ำตาลไว้ในปีบหรือสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ ๒-๓ ปี วิธีการสืบทอดหรือวิธีการเรียนรู้จะมมีมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายแล้วทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ารุ่นต่อรุ่นนั่นเอง สำหรับประโยชน์ของภูมิปัญญานี้ก็คือ ใช้ผลิตที่ได้ไปประกอบอาหารที่งอาหารคาวและอาหารหวาน สถานที่ที่ทำคือที่บ้าน
สถานที่ตั้ง
บ้านถ้ำรงค์
เลขที่ 5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 ซอย - ถนน -
ตำบล ถ้ำรงค์ อำเภอ บ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายถนอม ภู่เงิน
ชื่อที่ทำงาน บ้าน
เลขที่ 5 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ถ้ำรงค์ อำเภอ บ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76150
โทรศัพท์ 032-440535
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่