ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 2' 56.0886"
15.0489135
Longitude : E 100° 34' 4.9332"
100.568037
No. : 169512
กาบสาดข้าว
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Lop Buri
0 1493
Description
กาบสาดข้าว จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ชีวิตพระสุเมธาธิบดีมูลนิธิประชาสุขสันติ์ ที่ตั้งเลขที่ 84 หมู่ 4 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โทร. 0 3647 1847 กาบสาดข้าว หรือในภาษากลางเรียกว่า พลั่ว ส่วนทางภาคเหนือเรียกว่า พากไม้ เป็นเครื่องมือสำหรับตักข้าวเปลือกสาดเพื่อแยกเมล็ดข้าวซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รูปร่างของกาบสาดข้าวจะคล้ายกับพายที่ใช้พายเรือ การเลือกไม้มาทำกาบสาดข้าวชาวบ้านมักจะเลือกทำจากไม้เนื้ออ่อนเพื่อให้มีน้ำหนักเบา เช่น ไม้มะกอก หรือไม้สัก ไม้สำหรับทำพลั่วจะมีความยาวประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 15 -20 เซนติเมตร ส่วนใบพายมีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และจะเจาะหรือขุดให้เป็นร่องลึก ด้ามยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เหลาให้มีลักษณะกลมเหมือนด้ามพาย วิธีใช้กาบสาดข้าว ใช้มือจับบริเวณด้าม ใช้ปลายกาบสาดข้าวหรือพลั่วตักเล็ดข้าวที่ได้จากการนวดกองรวมกันอยู่ในลานข้าว สาดขวางทางลม เพื่อให้ส่วนที่ไม่ต้องการเช่น เมล็ดข้าวลีบ เศษผง เศษฟาง เศษดิน และสิ่งเจือปนอื่นๆ ที่เบากว่าปลิวไปตามลม คงเหลือแต่เมล็ดข้าวหล่นอยู่ในลาน หากในขณะนั้น ในกรณีไม่มีลมก็จะใช้พัดวี พัดให้เกิดลมแทนได้ การสาดข้าวต้องสังเกตแรงลมด้วยหากขณะมีลมแรงเกินไปจะไม่เหมาะ เพราะลมจะพัดเอาเมล็ดข้าวเปลือกไปด้วย นับเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยที่กินข้าวเป็นหลักมาเป็นเวลาช้านาน
Location
No. พิพิธภัณฑ์
Tambon บ้านกล้วย Amphoe Ban Mi Province Lop Buri
Details of access
Tambon บ้านกล้วย Amphoe Ban Mi Province Lop Buri
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่