ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 2' 56.0886"
15.0489135
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 4.9332"
100.568037
เลขที่ : 169527
ไทพวน บ้านหมี่
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ลพบุรี วันที่ 19 มีนาคม 2567
จังหวัด : ลพบุรี
0 75
รายละเอียด

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน เดิมพวนเป็นกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวาง เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ เมืองกำแพงนครเวียงจันทน์ ในสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว ได้ชื่อพวนเพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ มีอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ไถนา เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง อพยพมาอยู่ในประเทศไทยเรียกว่า ไทยพวน ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามจังหวัด ต่างๆ 19 จังหวัด คือ ลพบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ นครนายก ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย เลย นครพนม มุกดาหาร กำแพงเพชร และ ฉะเชิงเทรา ชาวพวนที่ตั้งรกรากในจังหวัดลพบุรี อยู่ที่ตำบลบ้านเซ่า อำเภอสนามแจง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบ้านหมี่ วิถีชีวิตของชาวไทยพวนมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมไทย โดยได้เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณี เช่น ประเพณี ฮีตสิบสองหรือประเพณี 12 เดือน ประเพณีสารทพวน (ห่อข้าว) การละเล่นต่างๆ ภาษา การปลูกบ้านเรือน การทอผ้าฝ้ายและผ้ามัดหมี่ การถนอมอาหาร เช่น การทำปลาร้า และปลาส้ม เป็นต้น ไทยพวน มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด อดทน อดออม สงบมีความผูกพันกับธรรมชาติ อาชีพหลักส่วนใหญ่คือการเกษตรกรรม ชาวไทยพวนทุกวันนี้ปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและรับเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามามากขึ้น เช่น หนุ่มสาวนิยมพูดภาษากลาง มีการสวมใส่เสื้อผ้าแบบสากล ปรับวัฒนธรรมบางอย่างให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของตนเอาไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป

คำสำคัญ
พวน ไทพวน
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล บ้านกล้วย อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่