ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 48' 31.3387"
14.8087052
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 52.9187"
100.5813663
เลขที่ : 169589
เกวียน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : ลพบุรี
0 1608
รายละเอียด
เกวียน ประเภทและลักษณะ เกวียน หรือล้อ บางที่เรียก “กระแทะ” เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง แต่ละท้องถิ่นจะมีรูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไป เกวียนทำจากไม้เนื้อแข็ง มีล้อ 2 ล้อ และตัวเรือนมีลักษณะ เป็นแคร่สี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับบรรทุกสิ่งของหรือคน โดยจะยกขอบด้านข้างทั้ง 2 ข้างสูง ใช้ไม้กระดานปูพื้น บ้างก็มีประทุนครอบกันแดดฝน ให้แก่ผู้ขับและผู้โดยสารหรือสิ่งของที่บรรทุก เกวียนมี 2 แบบคือ เกวียนเดี่ยว (ใช้วัวหรือควายตัวเดียว) กับเกวียนคู่ (ใช้วัวหรือควาย 2 ตัว ) การทำเกวียนทำโดยไม่ต้องใช้ตะปู ใช้วิธีการขัดกันและเชือกผูกเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีแอกซึ่งก็คือ ไม้ที่ใช้พาดคอสัตว์เพื่อเทียมเกวียน มีสายรั้งคอสัตว์เพื่อป้องกันเชือก ที่ผูกคอสัตว์ไม่ให้หลุดจากปลายแอก การใช้ประโยชน์: เป็นพาหนะใช้เดินทางและบรรทุกข้าวหรือสิ่งของ ไปในที่ต่างๆ ประวัติความเป็นมา เกวียนเป็นพาหนะที่สำคัญของคนสมัยก่อนทั้งในขนสัมภาระเสบียงสำหรับใช้ในการออกศึก ใช้ขนของในการหลบหนีอพยพ เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้บรรทุกข้าวขึ้นยุ้ง ขนของหรือสินค้าออกไปขายในต่างถิ่นต่างแดนจนถึงต่างประเทศ และใช้ในการขนพืชผลทางการเกษตรออกสู่ตลาด วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง วิธีทำ การบังคับวัวหรือควายเทียมเกวียน จะใช้วิธีเจาะจมูกร้อยสายตะพายโยง ไปที่ผู้ขับบนเกวียนถือสำหรับบังคับให้วัว หรือควายหยุดเดินหรือเลี้ยว ในการบังคับวัวหรือควายนั้น มีภาษาชาวนาหรือชาวเกวียนที่ใช้กับวัวหรือควายอยู่ 2 - 3 คำคือคำว่า "ทูน" แปลว่า ชิดข้างใน "ถัด" แปลว่าชิดข้างนอก "ยอ" แปลว่า หยุด เป็นต้น บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต - วิธีการเรียนการสอน - ประโยชน์ของภูมิปัญญา เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกับเกษตรกรไทยสมัยก่อนมาก ใช้ขนส่งทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ขนสินค้าและสัมภาระที่ต้องการ เป็นพาหนะสำหรับใช้เดินทาง เกวียนนี้ พ.ต.บุญยืน ซื่อสัตย์ มอบให้ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน บางขันหมาก จังหวัดลพบุรี
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ศูนย์วัฒนธ
ตำบล บางขันหมาก จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัด ลพบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่