ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 17' 57.23"
15.2992305555556
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 6' 24.84"
105.1069
เลขที่ : 169942
ครุตักน้ำ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2816
รายละเอียด
คุ (ภาษาถิ่นอีสานเรียก คุ หรือ น้ำคุ, ภาษาไทยถิ่นกลางเรียก ครุ) คือภาชนะสำหรับใช้ตักน้ำ มีรูปร่างกลม คล้ายถังน้ำ ก้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขา 4 ขาสำหรับตั้งพื้น มีงวงหรือสายสำหรับถือ สานด้วยไม้ไผ่แล้วยาผิวรอบนอกด้วยชัน (ภาษาถิ่นอีสานเรียกว่าขี้ซี) กับน้ำมันยาง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน ในสมัยโบราณยังไม่มีระบบการประปาเข้ามาแบบในสมัยปัจจุบัน ชาวบ้านจะต้องไปตักน้ำที่บ่อน้ำหรือแหล่งน้ำใกล้บ้าน ก็จะใช้ครุไปตักน้ำไว้ดื่มหรือใช้ประจำวัน ชันหรือขี้ซีที่ใช้ยาครุเพื่อกันน้ำซึม คือยางไม้จากต้นเต็ง (หรือต้นจิก) ที่เกิดจากด้วงกัดกินเนื้อไม้ทำให้มียางไหลออกมาจนมีลักษณะเป็นแท่งค้ายหินย้อยในถ้ำ ซึ่งสามารถนำมาละลายให้เหนียวได้โดยใช้น้ำมันจากต้นยางป่า การใช้คุตักน้ำในปัจจุบันลดน้อยลงมาก เนื่องจากระบบประปาเข้ามาแทนที่ คุหรือน้ำคุส่วนใหญ่จึงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน คุน้ำในภาพอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างพิมพ์ธรรม หมู่ 2 บ้านสว่างออก ตำบลสว่าง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีอายุประมาณ 100 ปี บริจาคโดยชาวบ้านสว่าง (ไม่ระบุชื่อ)
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสว่างพิมพ์ธรรม หมู่ 8 ถ.สถิตย์นิมมานกาล
เลขที่ บ้านสว่างอ
ตำบล สว่าง อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสว่างพิมพ์ธรรม
เลขที่ หมู่ 8 ถ. หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสว่างออก
อำเภอ สว่างวีระวงศ์ จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 6702 7652
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่