ไม้คานหาบหรือไม้คาน คือ เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับหาบสิ่งของ ส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่ เนื่องจากเป็นไม้ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ใช้หลักของการคาบน้ำหนักทั้งสองข้างให้เท่า ๆ กัน ทำให้สามารถย้ายสิ่งของได้มากขึ้น นอกจากนี้การขยับขึ้นลงของสิ่งของทั้งสองข้างตามจังหวัดการเดินจะช่วยผ่อนแรงที่กดทับบนบ่าของผู้หาบได้อีกด้วย
การทำไม้คานหาบก็นำไม้ไผ่มาผ่าออกในแนวยาว ซึ่งลำหนึ่งจะยาวประมาณ 1 เมตร ถึง 1.5 เมตร และลำหนึ่งอาจผ่าเป็น 3 หรือ 4 ส่วนก็ได้ แล้วลบคมของขอบที่ผ่าออกให้เกลี้ยง ทิ้งส่วนปล้องของไม้ไผ่ไว้ที่ตำแหน่งปลายไม้ให้นูนขึ้นเล็กน้อย เพื่อไว้สำหรับเกี่ยวสิ่งที่ต้องการหาบไม่ให้หลุดระหว่างหาบ
ไม้คานหาบนี้ไม่ได้เฉพาะจงจงว่าจะหาบอะไร ชาวบ้านอาจใช้หาบ กะต่า (ตะกร้า) กระบุง คุใส่น้ำ หรือสิ่งอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อช่วยในการผ่อนแรง ไม้คานหาบนี้บริจาคโดยชาวบ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี มีอายุ 50-130 ปี จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดสว่างพิมพ์ธรรม