เลียน คือคำเรียกเครื่องมือจับปลาของชาวบรูบ้านท่าล้ง เทียบกับภาษาไทยถิ่นอีสานได้ว่า ลอบยืน โดยปกติลอบยืนจะมี 2 แบบคือ คือแบบแรกเป็นทรงกระบอกหัวท้ายตัด และแบบที่สองคือจะมัดรวบหรือสานไม้ไผ่ส่วนหัวเข้าหาด้วยกัน ซึ่งที่เลียนหรือลอบยืนที่บ้านท่าล้งเป็นแบบที่สอง) การใช้ลอบยืนหรือเลียนนี้จะวางตั้งกับพื้น ในบริเวณนี่น้ำลึกพอประมาณ มักทำแนวรั้วเพื่อขวางทางน้ำ เพื่อเปลี่ยนทางเดินของปลา แล้วใส่เลียนไว้ตรงปลายแนวรั้วนั้น การใช้เครื่องมือจับปลาพื้นบ้านได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจะทราบว่าเครื่องมือประเภทนี้ควรใช้กับลักษณะพื้นที่เช่นไร และใช้ในเวลาใด ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่น่าเรียนรู้และศึกษาเป็นอย่างยิ่ง "เลียน" ที่แสดงในภาพนี้เป็นของนายเสน่ห์ พึ่งป่า ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี