ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 6' 19.0548"
15.105293
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 49' 12.612"
104.82017
เลขที่ : 169974
ต้นดอกผึ้ง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2437
รายละเอียด
การทำต้นผึ้งนั้นถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อที่สืบทอดกันมาสู่รุ่นลูกหลาน สามารถพบได้ใน หลายๆ พื้นที่ของภาคอีสานและภาคเหนือ ตามความเชื่อที่ว่าการถวายต้นผึ้งแด่พระสงฆ์หรือผู้ดูแลวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการอุทิศกุศลผลบุญให้แก่ผู้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ดอกผึ้งก็จะถูกเก็บรวบรวมเอาไว้จะถูกนำมาหลอมหล่อเป็นเทียนพรรษา ซึ่งถือเป็นกุศโลบายของคนในอดีตเพื่อจะได้ให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรได้ใช้จุด ให้แสงสว่างใช้ในการทำวัตร เช้า – เย็น อ่านบทสวดมนต์และเรียนหนังสือพระธรรมวินัยของสงฆ์ต่อไปนั่นเอง กรรมวิธีการทำดอกผึ้งนั้น เริ่มจากการนำก้อนขี้ผึ้งหรือเทียนไปต้มให้ร้อนจนละลายเป็นน้ำ แล้วนำเอาแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นจากผลไม้ เช่น มะละกอลูกเล็ก ๆ หรือผลสิมลี (สิมพี, ส้มพอดี,โพธิสะเล) มา คว้านภายใน แกะสลักแต่งให้เป็นแบบรูปดอกไม้ หรือเป็นแฉกตามแต่จะประดิษฐ์คิดออกมา จากนั้นก็นำลงจุ่มในขี้ผึ้งเหลวแล้วนำลงไปแช่น้ำ ขี้ผึ้งที่แข็งแล้วก็จะหลุดออกร่อนจากพิมพ์เป็นดอกดวง ตามแบบ ดอกผึ้งที่ได้จะถูกนำมาประดับบนต้นปราสาทที่ทำขึ้นจากการผูกแกนไม้ไผ่เข้า ไว้เป็นโครงร่างมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วมัดรวมยอดปลายแหลมเหมือนยอดเจดีย์ หุ้มแกนไม้ไผ่ด้วยกาบกล้วย ในสมัยโบราณขึ้ผึ้งที่นำมาใช้เป็นขี้ผึงที่ได้มาจากรังร้างของผึ้ง ที่ชาวบ้านเก็บรวบรวมได้เวลาที่ออกไปหาของป่าเมื่อได้พบเห็นรังผึ้งร้าง ก็จะเก็บรวบรวมเอารังผึ้งเปล่านั้นมาปั้นเป็นก้อนๆ เก็บเอาไว้ (คนโบราณเรียกว่าขี้ผึ้ง มีประโยชน์ หลายอย่าง เช่น นำมาทำเทียนไข ทำเครื่องสำอาง เป็นส่วนประกอบในยาแผนโบราณและสารเคลือบเงา เป็นต้น เทียนที่ผลิตจากขึ้ผึ้งแท้นั้นจัดเป็นเทียนคุณภาพดี มีเขม่าควันน้อย)
สถานที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาย
จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ องค์การบริ
จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 0 4529 5057
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่