ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 23' 26.61"
15.390725
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 29' 39.0336"
105.494176
เลขที่ : 170005
การทอผ้าฝ้าย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1200
รายละเอียด
การทอผ้าฝ้ายเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในด้านการทำเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้เองในครัวเรือน โดยสามารถทอเป็นผืนใหญ่ไว้ใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้าปูต่างๆ ได้ และยังนำมาทอขนาดเฉพาะเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายของทั้งหญิงและชาย เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าซิ่น ผ้าสไบ เป็นต้น ผู้ที่มีบทบาทหลักในการทอผ้ามักจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยจะมีการสืบทอดภูมิปัญญาการถักทอ การย้อมมาตั้งแต่อดีต จากรุ่นสู่รุ่น วัสดุสำคัญในการทอผ้าฝ้ายคือ เส้นฝ้ายซึ่งได้มาจากการนำปุยฝ้ายมาปั่นให้เป็นเส้น แล้วนำมาใช้ทอเป็น ผ้า เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าเรียกว่า "กี่" ในภาษาอีสาน (ภาษาไทยกลางเรียกว่า "หูก") ผู้ทอจะต้องนำเส้นด้ายมาขัดกันเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยต้องขึงด้ายกลุ่มหนึ่งให้เป็นเส้นยืน แล้วใช้ด้ายอีกส่วนหนึ่งมาสอดเป็นเส้นขวาง ซึ่งระหว่างการทอจะมีการยกสลับด้ายเส้นยืนเป็นระยะ เพื่อให้เกิดลวดลายตามต้องการ ในอดีตเด็กผู้หญิงในครัวเรือนจะสามารถสืบทอดการทอผ้าได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ เป็นการสอนในลักษณะการซึมซับตามสภาพแวดล้อม เนื่องจากเติบโตมากกับการทอผ้าฝ้ายของผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันนี้เด็กสาวรุ่นใหม่ทอผ้าได้น้อยลง เนื่องจากย้ายไปเรียนและเติบโตในตัวเมืองมากขึ้น และมองว่าการทอผ้าต้องใช้เวลานานและมีความละเอียดสูงจนเกินไป ผู้เฒ่าผู้แก่ก็กลัวเช่นกันว่าภูมิปัญญาด้านนี้อาจสูญหายไปในที่สุด หากไม่มีการสืบทอดไว้ การทอผ้าฝ้ายสาธิตโดยนางทองจันทร์ จันทร์เทพ เลขที่ 92/3 บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 14 หมู่ 3
เลขที่ บ้านกุ่ม
ตำบล บ้านแดง อำเภอ ตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสนิท สินทิพย์
เลขที่ เลขที่ 14 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกุ่ม
ตำบล บ้านแดง อำเภอ ตระการพืชผล จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ ประธานกลุ่ม: นางสนิท
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่