ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 51' 8.7192"
15.852422
ลองจิจูด (แวง) : E 105° 10' 36.6168"
105.176838
เลขที่ : 170023
หนังประโมทัย
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 2071
รายละเอียด
หนังประโมทัย หรือ หนังปราโมทัย หรือ หนังบักตื้อ หรือ หนังบักป่องบักแก้ว เป็นศิลปะการแสดงของภาคอีสานที่ได้รับอิทธิพลจากหนังตะลุงของภาคใต้ แล้วนำมาปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคอีสาน คือ หมอลำ เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมอีสาน หนังประโมทัยจึงสะท้อนให้เห็นถึงการกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นที่สำคัญคือ ตัวหนัง จะมีขนาดสูงประมาณ 1-2 ฟุต เหมือนกับหนังตะลุงทางภาคใต้ แต่รูปลักษณ์และสีจะแตกต่างกัน ในคณะหนึ่ง จะมีตัวหนังในราว 80-200 ตัว โดยทั่ว ๆ ไป ตัวหนังจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ทำให้ใช้แสดงได้หลายเรื่อง เช่น ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ตัวหนังที่ต้องใช้ เช่น รูปฤาษี พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ทศกัณฑ์ หนุมาน รูปยักษ์ รูปลิง รูปตลก เป็นต้น หนังประโมทัยนิยมเล่นเป็นคณะ ในคณะหนึ่งๆ จะมีผู้เล่นประมาณ 5-10 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย แบ่งหน้าที่ออกเป็น 1. คนเชิดหนัง 2-3 คน (2) คนพากย์และเจรจา (3) นักดนตรี 2-4 คน ตามจำนวนเครื่องดนตรี โรงหนังสำหรับเล่นหนังประโมทัยจะมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2 เมตร มีหลังคาทั้ง 2 ด้านกั้นทึบ ด้านหลังโรงใช้เป็นทางเข้าออกของผู้แสดง ด้านหน้ากั้นด้วยจอผ้าขาวที่มีผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นขอบโดยรอบ นักแสดงทั้งหมด ได้แก่ คนเชิด และนักดนตรี จะอยู่บนโรงนี้ จอหนังยาวประมาณ 3-4 เมตร กว้าง 1.5 เมตร จอหนังจะถูกขึงให้ตึงเพื่อให้ภาพที่ปรากฏบนจอสวยและคมชัด แหล่งกำเนิดแสงจะอยู่หลังจอจะเป็นตะเกียง ปัจจุบันใช้หลอดไฟ เรื่องที่หนังประโมทัยนิยมแสดงมาตั้งแต่ดั้งเดิมคือรามเกียรติ์ ต่อมาหนังประโมทัยบางคณะได้นำวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานมาแสดงด้วย เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น การะเกด ฯลฯ บ้างก็แต่งเรื่องขึ้นเอง ซึ่งก็ได้รับความนิยมชมชอบเช่นกัน การแสดงหนประโมทัยเรื่องวรรณคดีอีสานนั้นจะแสดงเหมือนหมอลำผสมหนังตะลุง คือตัวพระถึงแม้จะพากย์และเจรจาด้วยภาษาไทยกลาง แต่ก็สามารถร้องหมอลำได้ด้วย ตัวนางนเล่นแบบหมอลำ เจรจาด้วยภาษาอีสาน การเล่นลักษณะนี้พบได้ทาง จ. อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น หนังประโมทัยไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างรูปศักดิ์สิทธิ์เพื่อป้องกันเสนียดจัญไรเหมือนกับหนังตะลุงทางภาคใต้ แต่ก็จะมีการเคารพนับถือรูปฤาษีเพียงรูปเดียวเท่านั้น โดยถือรูปฤาษีเป็นรูปครู บางคณะในระหว่างเข้าพรรษาจะนำรูปฤาษีขึ้นไปไว้บนหิ้งบูชา และไม่นำรูปฤาษีไปแสดงที่ไหนในระหว่างเข้าพรรษา ซึ่งอาจจะเป็นอิทธิพลของประเพณีทางพุทธศาสนาในช่วงเข้าพรรษา หนังประโมทัยจะแสดงในงานเทศกาลต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่แต่ในตัวจังหวัดเท่านั้น เพราะความนิยมของการแสดงประเภทนี้ไม่มากนัก การรักษาให้ “หนังประโมทัย” ยังคงอยู่ต้องอาศัยโรงเรียนเป็นผู้สนับสนุน อย่างน้อยให้เด็ก ๆ ได้รู้จักและซึมซับศิลปะการแสดงประเภทนี้ไว้ ก่อนที่จะเลือนหายไปมากกว่านี้
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 165 หมู่ 8
เลขที่ บ้านห้วยยา
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายอนุรุทธิ์ แก้วชิณ
เลขที่ เลขที่ 165 หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านห้วยยาง
อำเภอ โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี
โทรศัพท์ โทร 08 4958 6185
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่