ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 13' 48.64"
15.2301777777778
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 51' 25.67"
104.857130555556
เลขที่ : 170073
เทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 1269
รายละเอียด
เทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่สนามทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยเริ่มก่อนสร้างในช่วง 18 มีนาคม – 30 พฤศจิกายน 2542 เป็นเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างด้วยปูนสูง 22 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.40 เมตร ฐานเป็นรูปวงรี ขบวนต้นเทียนจำลอง เรื่อง พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์จากการดัดแปลงจากชาดกในทศชาติ เรื่อง "พระมหาชนก" ที่แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือ ความพากเพียรของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยชาติพระพุทธเจ้า ลักษณะโครงสร้างของเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน คือ (1) ส่วนสระซึ่งแทนมหาสมุทร มีขนาดกว้าง 4 เมตร ลักษณะรูปวงรีแบบไข่ ลึก 1 เมตร มีลวดลายบัวแวงแบบอุบลประดับ (2) เรือสำเภา ยาว 16 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร หัวเรือเป็นรูปพญานาค 7 เศียร ซึ่งเป็นลักษณะนาคแบบอุบล คือส่วนหงอน ส่วนปลายยอดของพญานาคจะทำเป็นลายช่อสะบัด เหมือนรูปหางไหลเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไป และที่ส่วนหน้าอกก็จะมีปีกอยู่ส่วนของลำเรือ และหางเรือจะประดับด้วยลวดลายแบบอีสาน คือ ลวดลายจะเน้นเป็นรูปคล้ายเลขหนึ่งไทยที่ม้วนตัวเข้า ประกอบภาพปรกที่ส่วนหัวและภาพเทวดาที่ส่วนท้าย (3) ภาพบุคคล เป็น ภาพบุคคลที่อยู่ในเรือสำเภาและบุคคลที่ว่ายน้ำที่ประกอบด้วย ภาพพระมหาชนกกำลังว่ายน้ำ และลูกเรือกำลังถูกสัตว์น้ำกัดกินและกำลังจมน้ำอยู่ (4) ต้นเทียน ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ ส่วนแรก ฐานล่างสุด เป็นรูป "พญาหงส์" หมาย ถึง สัตว์ที่แสดงถึงความนุ่มนวลอ่อนหวาน ความสง่างามของกษัตริย์ แบกรับขันหมากของอีสาน รับฐานครุฑ หมายถึง กษัตริย์ไทย ซึ่งบำเพ็ญเพียรจนเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนที่สอง คือ ฐานชั้นที่ 2 เป็นรูป "พญาครุฑ" เป็นเทพในศาสนาของพราหมณ์ ซึ่งเป็นพาหนะของกษัตริย์ลัทธิไวษณพนิกาย และฐานชั้นที่ 3 เป็นภาพดอกบัวที่มีลักษณะเป็นบัวกลีบยาว ซึ่งหมายถึงอุบลราชธานี หรือตัวแทนความเป็นจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนที่สี่คือส่วนลำต้น เป็นภาพตอนสำคัญของทศชาติบารมี ประกอบกับลวดลายแบบอีสาน คือ ลวดลายกนกที่ขมวดคล้ายกับเลขหนึ่งไทย ที่ดูอวบอ้วน และดูช่องไฟค่อนข้างแน่น และสุดท้ายส่วนยอด เป็นภาพของสถาปัตยกรรมแบบเมืองอุบล ที่ลอกแบบมาจากเจดีย์ทรงแจกันเหลี่ยมที่วัดพระธาตุสวนตาล อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง
ทุ่งศรีเมือง
ตำบล พิบูล อำเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ ทุ่งศรีเมื
ตำบล พิบูล อำเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่