ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 59' 7.6452"
14.985457
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 21' 42.9588"
99.361933
เลขที่ : 170908
ชาวกะเหรี่ยง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1810
รายละเอียด
กะเหรี่ยงบ้านกล้วย ตำบลบ้านกล้วย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีทางการได้ตัดถนนเข้ามายังบ้านกล้วย จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนไปเช่น แต่เดิมที่เคยทำการเกษตรแบบยังชีพ เช่น ทำนา ทำไร่ ก็เปลี่ยนมาเป็นการปลูกกระวาน(เครื่องเทศชนิดหนึ่ง)พืชเศรษฐกิจที่ขายได้ราคาดี ดังนั้นจึงทำให้สังคม เศรษฐกิจและความเชื่อในบ้านกล้วยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกะเหรี่ยงบ้านกล้วยเป็นกลุ่มที่อพยพมาอยู่ในพื้นที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มาเนิ่นนานโดยมีประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ อันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สืบต่อกันมาหลายรุ่นในอดีตกะเหรี่ยงบ้านกล้วยส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยไม่ได้ คนที่พูดไทยได้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นประวัติบ้านกล้วย ตำบลบ้านกล้วย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านกล้วย มีอายุการก่อตั้งมาประมาณ 100 ปีมีชื่อภาษากะเหรี่ยงว่า “เฮละวุ่ง” แปลว่า “ดินแดนแห่งเมตตา” บริเวณนี้เมื่อก่อนกะเหรี่ยงใช้เป็นทางสัญจรไปหมู่บ้านตะเพินขี้ (เป็นภาษากะเหรี่ยงแปลว่า “ยอดห้วย” หรือต้นลำน้ำตะเพินขี้) (หน้า 113,134) การเดินทางต้องใช้เวลาหลายวันบางครั้งก็ต้องพักค้างแรมระหว่างทาง กะเหรี่ยงจึงนำเมล็ดพืชเช่น กล้วย มะม่วง อ้อย แตงโม ฯลฯ มาปลูกเพื่อจะได้มีกินหากหิวในตอนเดินทาง สำหรับพืชผักผลไม้ที่ปลูก ใครจะกินก็ได้เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของ ภายหลังจึงมีคนอพยพเข้ามาสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ครอบครัว กะเหรี่ยงบ้านกล้วย ถือการสืบสายเลือดฝ่ายพ่อ และถือผีฝ่ายพ่อ ครอบครัวในหมู่บ้านกล้วย เป็นแบบครอบครัวเดี่ยวสมาชิกในบ้านมี พ่อ แม่ ลูกและบางครอบครัวก็มีปู่ ย่า อยู่ด้วย (หน้า 62) เมื่อคิดจำนวนแล้วในหมู่บ้านเป็นครอบครัวเดี่ยว 70 % และครอบครัวขยาย 30 %(14 ครอบครัว , หน้า 66) การแต่งงาน หากหนุ่มสาวชอบพอกัน เมื่อตกลงใจจะแต่งงานมีครอยครัว ฝ่ายชายจะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอ ถ้าฝ่ายหญิงตกลงก็จะให้หมอผีกำหนดวันแต่งงาน ซึ่งจะเลยวันหมั้นไปประมาณ 1 เดือน เมื่อถึงวันแต่งงานฝ่ายชายจะไปไหว้ผีเรือนบ้านฝ่ายหญิง โดยสิ่งของที่ใช้ประกอบด้วย ไข่ต้ม เหล้า ข้าว เป็นต้น สำหรับของใช้อื่นๆ ที่เอาไปด้วยได้แก่ เสื้อผ้า จอบ มีด เสียมและอื่นๆ (หน้า 64) ฝ่ายชายจะไปนอนที่ชานบ้านฝ่ายหญิง 3 เดือน(ปัจจุบันลดลงเหลือ 1 เดือน) การมาอยู่ก็เพื่อดูนิสัยใจคอว่าขยันทำมาหากิรในไร่นาหรือไม่ ในช่วงนี้จะห้ามชายหญิงหลับนอนด้วยกัน แต่ถ้าฝ่าฝืนก็จะประกอบพิธีขอขมาผีเรือนพร้อมกับเสียค่าปรับให้ฝ่ายหญิง เมื่อครบ 3 เดือน พ่อแม่ฝ่ายหญิงก็จะพาเจ้าบ่าว เจ้าสาว ทำพิธีไหว้ผีเรือน โดยให้หมอผีเป็นผู้นำในการทำพิธี จากนั้นฝ่ายหญิงก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือมาปูเสื่อและกางมุ้ง ในตอนเย็นเจ้าภาพจะทำอาหารเลี้ยงขอบคุณแขกเหรื่อที่มาช่วยงาน (หน้า 65) เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของฝ่ายชาย (หน้า 66) ส่วนผู้ชายจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง 1-3 ปีจึงจะแยกครอบครัวออกมา สำหรับการแต่งงานของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว ไม่ค่อยมีการหย่าหมู่บ้านกล้วยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2524 ซึ่งเปลี่ยนจากอดีตที่ผู้นำทางการเมืองจะเป็นผู้นำทางพิธีกรรมด้วย (หน้า 53) หน้าที่ของผู้นำอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ คือ ไกล่เกลี่ยหากมีความขัดแย้งหรือทะเลาะวิวาทในหมู่บ้านและติดต่องานกับหน่วยงานราชการ (หน้า 55) ทางด้านการเมืองในระยะแนกผู้นำของหมู่บ้านจะมีลักษณะเป็นตัวแทนของชาวบ้านมากกว่าตัวแทนของรัฐ ภายหลังเมื่อมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาทำงานในโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในภายหลังผู้นำชุมชนจึงมีลักษณะเป็นตัวแทนของหน่วยงานราชการซึ่งต่างจากในอดีตที่ผู้นำชุมชนนั้นจะมีลักษณะเป็นตัวแทนของคนในชุมชน (หน้า 114) สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองในพื้นที่บ้านกล้วยในอดีตนั้น ช่วง พ.ศ.2516 ได้มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งได้ใช้เส้นทางนี้เดินทางไปยังฐานที่มั่นและได้เคลื่อนไหวทางการเมืองจึงทำให้มีชาวบ้านส่วนหนึ่งเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมืองกับกลุ่มนักศึกษา กระทั่งเหตุการณ์ต่างๆ ได้คลี่คลายลง เมื่อรัฐบาลใช้นโยบายที่ 66 / 2523 โดยยึดนโยบายการเมืองนำหน้าการทหาร เมื่อ พ.ศ.2524กะเหรี่ยงบ้านกล้วย นับถือศาสนาพุทธและนับถือผี ได้แก่ ผีเรือน คือผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับ คนที่ถือผีเรือนคือ ลูกชายคนโต บางครั้งอาจเป็นลูกคนอื่นด้วยก็ได้ ถ้าหากเลี้ยงดูให้เป็นผู้สืบผีเรือน สำหรับการเซ่นไหว้ผีเรือนแบ่งออกเป็นการเซ่นไหว้ทั่วไป คือแล้วแต่ครอบครัวจะกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวันที่ตรงกับบรรพบุรุษเสียชีวิต ตัวอย่างเช่นหากเสียชีวิตในวันเสาร์ ก็จะทำพิธีในวันเสาร์ ส่วนสิ่งของที่ใช้เซ่นไหว้ ได้แก่ อาหารคาว หวาน และอื่นๆ (หน้า 56) และการเซ่นไหว้ประจำปีจะเลือกวันที่สะดวกหากกำหนดวันได้แล้ว ก็จะเชิญญาติๆ มาช่วยงาน นำอาหารมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ เพื่อขอให้คุ้มครองลูกหลานให้มีสุขภาพแข็งแรง ชีวิตการงานเจริญก้าวหน้า (หน้า 57) ผีบ้าน คือผีประจำหมู่บ้าน มีหน้าที่ปกปักรักษาคนในหมู่บ้านให้อยู่อย่างสงบสุข การเซ่นไหว้ไม่มีเวลาที่แน่นอน กรณีมีคนในหมู่บ้านป่วยบ่อยๆ ก็จะร่วมกันประกอบพิธี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงผีบ้านจะทำพร้อมกับพิธีเลี้ยงผีเรือน สำหรับสิ่งของที่ใช้เลี้ยงผีบ้าน ได้แก่ อาหารและเหล้านำใส่ถาดแล้วยกไปเลี้ยงผีที่ทางเข้าหมู่บ้าน การทำพิธีอาจจะทำกันเองหรือให้หมอผีเป็นผู้ทำพิธีก็ได้ (หน้า 60) ส่วนการเซ่นไหว้ผีบ้านในช่วงปีใหม่ หมอผีจะเป็นผู้ทำพิธีและกำหนดวัน คนในหมู่บ้านจะนำอาหารมารวมกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน เมื่อทำพิธีแล้วหัวหน้าครอบครัวจะนำด้ายที่ผ่านการทำพิธีมาผูกข้อมือให้ลูกหลานที่บ้าน (หน้า 59) และฉลองวันปีใหม่ (หน้า 60) ส่วนพิธีเกี่ยวกับการเลี้ยงผีอื่นๆ เช่น “ผีไร่” เจ้าของไร่จะเริ่มทำพิธีตั้งแต่เริ่มถางไร่กระทั่งเก็บเกี่ยวข้าว ขนข้าวลำเลียงไปเก็บในยุ้ง พิธีจะทำในช่วงต่างๆ เช่นพิธีการเลี้ยงผีประจำไร่จะทำเมื่อต้นข้าวสูงประมาณ 18 นิ้ว สำหรับเครื่องเซ่นได้แก่ ไก่ 6 ตัวและหมู 6 ตัว การทำพิธีก็เพื่อขอให้ผีคุ้มครองพืชผลที่ปลูก และพิธีเรียกขวัญข้าวจะทำพิธีเมื่อข้าวออกรวง เป็นต้น (หน้า 61) วัดบ้านกล้วย ตั้งอยู่ทางเข้าหมู่บ้านใกล้ลำห้วยตระเพินขี้ มีพระสงฆ์ 4 ถึง 7 รูป (หน้า 40) สร้างเมื่อ พ.ศ.2517 ในระยะแรกกะเหรี่ยงบ้านกล้วยไม่ค่อยชอบมาทำบุญที่วัด เพราะเกรงว่าจะผิดผี และไม่ค่อยสนใจนับถือศาสนาพุทธเพราะเชื่อว่าพระกับผีเป็นศัตรูกัน สาเหตุของการไม่ชอบมาทำบุญที่วัดมีอยู่ระยะหนึ่งทำให้วัดบ้านกล้วยเป็นวัดร้างไม่มีพระอยู่ถึง 3 ปี สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากชาวบ้านไม่ค่อยทำบุญ ส่วนพระเองก็ต้องการความสงบเงียบ ดังนั้นจึงทำให้วัดไม่ค่อยมีบทบาทโดดเด่นในชุมชนเท่าที่ควร (หน้า 38) งานศพ หากมีคนเสียชีวิต กะเหรี่ยงบ้านกล้วยจะตีเกราะบอกคนในหมู่บ้านให้มาช่วยทำพิธี ขั้นตอนการทำพิธีญาติๆ จะช่วยกันอาบน้ำเปลี่ยนชุดกะเหรี่ยงให้กับผู้ตาย โดยจะพลิกเสื้อด้านในออกด้านนอก ตอนเคลื่อนศพไปป่าช้าจะให้ลูกชายหรือญาติที่เป็นผู้ชายเป็นคนจูง ส่วนบ้านที่อยู่ข้างทางต้องปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เมื่อไปถึงป่าช้าก็จะยกสำรับอาหารมาเซ่นไหว้คนตาย ในระหว่างนี้ก็จะช่วยกันขุดหลุมฝังศพ ต่อมาก็จะยกศพลงฝัง รดน้ำมะพร้าวที่ปากหลุมและใบหน้าผู้ตาย ปิดฝาโลงแล้วกลบดินอย่างแน่นหนา บริเวณหลุมจะคลุมไว้ด้วยกิ่งไม้ เมื่อกลับจากฝังศพ ต้องทำความสะอาดร่างกายก่อนจะเข้าบ้าน และการทำพิธีจะไม่อนุญาติให้พระเข้าร่วมพิธีเพราะเชื่อว่าพระกับผีเป็นศัตรูกัน ถ้าฝ่าฝืนจะทำให้คนในครอบครัวเจ็บป่วย ในตอนเย็นจะเชิญหมอผีมาทำพิธีที่บ้านและเลี้ยงอาหารเพื่อนบ้านที่มาร่วมทำพิธี นับจากวันที่ฝังศพลูกหลานจะนำสำรับอาหารไปวางให้ผู้ตายเป็นเวลา 7 วัน เมื่อครบตามกำหนดก็จะเชิญวิญญาณของญาติมาการแต่งกาย ผู้ชาย ชอบซื้อเสื้อผ้าจากภายนอกหมู่บ้าน ผู้หญิง ยังชอบแต่งกายแบบดั้งเดิม แต่ไม่มีการทอผ้าใช้เหมือนในอดีตอีกแล้ว สำหรับการแต่งกายชุดประจำเผ่า นิยมแต่งเมื่อมีงานบุญหรืองานเทศกาล
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกล้วย
ตำบล วังยาว อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชาลี งามยิ่ง
เลขที่ เลขที่ 67
ตำบล วังยาว อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ โทร 0861783176
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่