ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 45' 18.43"
14.7551194444444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 5' 42.99"
100.095275
เลขที่ : 170923
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1761
รายละเอียด
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเก่าตั้งอยู่ตรงข้ามวัดสามชุก (เหล่าปึงเถ่ากง) สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2370 ต่อมา ได้สร้างที่ตลาด สามชุกใหม่โดยบุคคลที่มีบทบาทต่อชุมชน และเจ้าของ ผู้ก่อสร้างตลาดสามชุก ได้แก่ ขุนจำนงค์จีนารักษ์ เจ้าของ ตลาด ซอย 2 และริมน้ำบางส่วน เถ้าแก่เบี้ยว แซ่เจ็ง เจ้าของตลาดซอย 1 และห้องแถวริมน้ำ และเถ้าแก่เนี้ยม แซ่โค้ว เจ้าของตลาดซอย 3-4 สามีของยายแห้ว ระวิพงษ์ เป็นผู้ริเริ่มอัญเชิญเถ้าธูปจากศาลเจ้าพ่อสุพรรณบุรี มาใส่กระถางธูปใหม่ ดำเนินการด้วยวิธีโบราณเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 มีภาษาจีนเรียกว่า “เจี๊ยปึงเถ่ากง” หน้าศาลเจ้าต่อมาเป็นท่าเรือบริษัท ผู้เดินทางทางเรือผ่านไปมาได้มากราบไหว้ขอพรให้เจริญรุ่งเรือง เดินทางโดยปลอดภัย อยู่เย็นเป็นสุข ซื้อง่ายขายคล่องเป็นที่สักการบูชามาจนถึงปัจจุบัน ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือทางขึ้นตลาดซอย 2 หน้าศาลเจ้า มีโคมไฟ ประจำศาลเจ้า เรียกว่า “ที้ ตี่ เต็ง” ใช้นำทางในขบวน ที่มีพิธีการแห่ เช่น งานงิ้ว เป็นต้น ในศาลเจ้ายังมีเครื่องเสี่ยงทายและทำนายหลายอย่าง ได้แก่ ป่วยและกระบอกเสี่ยงเซียมซี ป่วย เป็นไม้ประกบคู่ ถ้าเป็นเรื่องดีป่วยจะแสดงคู่ตรงกันข้าม คือ คว่ำอัน หงายอัน กระบอกเสี่ยงเซียมซีเป็นเครื่องทำนายดวงชะตาตามความเชื่อของคนจีน ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองสามชุกมีการจัดงานปีละ 2 ครั้ง คืองานปลายปีในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จะเป็นวันแก้บน และครั้งที่สองจะจัดในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นงิ้วประจำปี ตรงข้ามศาลเจ้าเป็นที่ตั้งปะรำสำหรับไหว้เจ้าที่ ใช้ธูป 3 ดอก ตรงนี้มีป้ายผ้าเขียนคำว่า “ที้ ตี้ แป่ ป้อ” ความหมายคือ ให้รู้จักเคารพฟ้าดิน พ่อแม่ ใกล้ๆ กันมีที่เผากระดาษเงินกระดาษทองให้บรรพบุรุษแสดงความกตัญญ
สถานที่ตั้ง
อำเภอ สามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอ สามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่