ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 59' 7.6452"
14.985457
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 21' 42.9588"
99.361933
เลขที่ : 170928
การไหว้แม่โพสพ ทำขวัญข้าว
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 3 กันยายน 2563
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 2804
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา
การสมโภชแม่โพสพเป็นภูมิปัญญาและพิธีกรรมที่ได้รับการสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานของชาวนาในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จัดเป็นภูมิปัญญาสั่งสม ซึ่งแต่เดิมแต่ละครอบครัวจะประกอบพิธีกรรมเป็นการเฉพาะครอบครัว โดยเชิญหมอทำขวัญข้าวที่เคารพนับถือ หรือคนเฒ่าคนแก่ในตระกูล เป็นผู้ทำพิธี ในสมัยโบราณส่วนใหญ่ผู้นำตระกูล หรือผู้นำครอบครัวสามารถทำพิธีได้ เนื่องจากมีตำราสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาเมื่อระบบการทำนาเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำเพื่อยังชีพเป็นการทำเชิงพาณิชย์มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการผลิตทำให้ภูมิปัญญานี้ลดน้อยลง ปัจจุบันจึงเกิดการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่โดยมีการเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญา จากที่ทำเฉพาะครอบครัวก็ทำร่วมกันที่ศูนย์รวมจิตใจหรือสถานที่สำคัญ คือ วงเวียนแม่โพสพของอำเภอระโนด โดยทุกตำบลทุกหมู่บ้านในอำเภอระโนดจะรวบรวมข้าวแล้วนำมาทำพิธีร่วมกันโดยใช้หมอทำขวัญข้าวคนเดียว
การทำขวัญข้าว ตามประวัติบอกเล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดมีปัญหาถามว่าระหว่างพระพุทธเจ้ากับแม่โพสพนั้นใครจะมีบุญคุณมากกว่ากัน ต่างก็มีการถกเถียงกันผลที่สุดมนุษย์ก็ให้แม่โพสพเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ แม่โพสพทั้งเสียใจและน้อยใจเป็นอย่างมากพลางกล่าวว่า ตั้งแต่รักษามนุษย์มา มนุษย์ได้มีข้าวกิน ถึงแม้ว่าสิ่งอื่น ๆ จะมีพระคุณ แต่แม่โพสพก็ไม่ควรที่จะพ่ายแพ้แก่ใครๆ กล่าวจบ แม่โพสพก็หลีกหนีไปอาศัยอยู่ที่ภูเขาทบกัน ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านต่างก็พากันได้รับความ เดือดร้อนร้องห่มร้องไห้ เนื่องจากต้นข้าวเมล็ดลีบเสียหายหมด เกิดความอดอยากขาดแคลนอาหารไปทั่วทุกหนทุกแห่ง จนกระทั่งมีสัตว์ ๒ ตัว คือ ปลาสลาดและนกคู้ลารับอาสาไปรับแม่โพสพที่ภูเขาทบกัน ปลาสลาดสมัยก่อนลำตัวจะกลม แต่พอเดินทางเข้าไปคาบเอาแม่โพสพซึ่งเป็นช่วงที่ภูเขากระทบกันพอดีและทับเอาลำตัวปลาสลาดจนตัวแบน จากนั้นปลาสลาดก็คาบเมล็ดข้าวหรือแม่โพสพออกมาพ้นจากภูเขาทบกันได้ นกคู้ลาจึงฉวยโอกาสแย่งคาบเมล็ดข้าวพาบินหนีมาจนมาถูกพายุใหญ่ก็ขอร้องให้ช่วย ปลาสลาดซึ่งว่ายน้ำตามมาทันพอดีขณะที่นกคู้ลาอ้าปากจะขอช่วยทำให้เมล็ดข้าวหล่นออกจากปากของนกคู้ลา ปลาสลาดก็รับไว้แล้วคาบมาจนกลับมาถึงที่เดิมนำมามอบให้พระพุทธเจ้าแจกจ่ายให้ประชาชนนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป ตั้งแต่นั้นมามีการทำขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ สืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน และปลาสลาดก็มีลำตัวแบนมาจนถึงบัดนี้
ดังนั้นเพื่อเป็นการทำให้แม่โพสพพอใจและอยู่กับชาวนาต่อไป จึงได้มีการทำพิธีทำขวัญข้าว หรือพิธีสมโภชแม่โพสพ เป็นพิธีบวงสรวงแม่โพสพผู้เป็นวิญญาณแห่งข้าว โดยเชื่อว่าถ้าข้าวมีขวัญสิงอยู่ประจำ ไม่หลีกลี้ไปไหน

ชาวนาจะกราบไหว้บูชาแม่โพสพในการปลูกข้าวทุกครั้ง เพื่อเป็นการขอขมาและขอพรให้ข้าวออกรวงได้ผลผลิตอย่างเต็มที่ พิธีการทำขวัญข้าวจึงเกิดขึ้นเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน ในทุกภาคของประเทศ พิธีการทำขวัญข้าวแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะกระทำกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มเมื่อข้าวตั้งท้อง หรือเมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตเริ่มออกรวง เชื่อว่าแม่โพสพกำลังตั้งท้องจะมีการทำพิธีสู่ขวัญ ทำขวัญข้าวในทุ่งนา ครั้งที่ 2 เป็นการรับขวัญข้าวเข้ายุ้ง จะกระทำหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อนำไปเก็บไว้ในยุ้งข้าว ชาวนาบางคนอาจทำง่ายๆ โดยเกี่ยวข้าวกอสุดท้ายในนาแล้วกล่าวคำเรียกขวัญว่า "ขวัญเอยมาเถิดนะขวัญแม่โพสพเอย" หรือบางคนจะคัดข้าวรวงที่งามที่สุด 4-5 รวง มัดติดกันไว้ใต้เรือน แล้วเรียกขวัญข้าวให้ไปอยู่ในยุ้งฉาง

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกล้วย
อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านกล้วย
อำเภอ ด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่