ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 38' 0.132"
14.63337
Longitude : E 100° 1' 25.662"
100.023795
No. : 170998
ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี
Proposed by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date ไม่ระบุ
Approved by. ศูนย์ข้อมูลกลาง Date 30 November 2012
Province : Suphan Buri
0 2507
Description
การดำเนินงานห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอดอนเจดีย์ คือการประสานการดำเนินงานของชนทุกหมู่เหล่า ทั้งคณะสงฆ์ ทั้งภาคเอกชน ทั้งภาครัฐ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมแก้ปัญหา เพื่อแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุด รวมทั้งเตรียมแผนระยะยาวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยั่งยืน นับแต่วันเริ่มก่อสร้างจนถึงวันอันเป็นมิ่งมงคล วันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” บนดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงถึงความเกรียงไกรของบรรพชน ความสำนึกต่อคุณของแผ่นดินในสมรภูมิสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งได้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ให้ชาวโลกได้สรรเสริญสืบไปเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน พสกนิกรมีความสงบร่มเย็น มีความสุขในวิถีชีวิตของตน ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จะเป็นศูนย์กลางของการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต โดยไม่มีข้อจำกัด พื้นที่ 833 ตารางเมตร ได้แบ่งสัดส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์การใช้สอยสูงสุดเป็นห้อง - และมุมต่าง ๆ ดังนี้ ห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ห้องเฉลิมพระเกียรตินี้ถือเป็นหัวใจของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ออกแบบตกแต่งเพื่อความกลมกลืนกับลักษณะสถาปัตยกรรมอย่างไทย ภายในห้องได้จัดโต๊ะทรงพระอักษรสำหรับพระองค์ท่าน ในวันเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดห้องสมุด ภายในแสดงเรื่องราวพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระองค์ บันทึกอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ตู้หนังสือ ซึ่งรวบรวมหนังสือพระราชนิพนธ์ส่วนหนึ่ง โดยอีกส่วนหนึ่งจะนำไปแสดง ณ ห้องหนังสือทั่วไป พื้นที่รอบห้องจะแสดงงานเขียนสีน้ำมันพระจริยวัตรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ อรุณวัยไขแสง เจิดแจรงพระอัจฉริยะ เด่นล้ำพระจริยวัตร องค์รัฐสีมาคุณากร ห้องศิลปินเพลงเมืองสุพรรณ วิถีชีวิตของชาวนาไทยบนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง แหล่งผลิตข้างแหล่งใหญ่ของประเทศไทย ผสมผสานวิถีชีวิตและประเพณีท้องถิ่นที่เรียบง่ายเป็นบ่อเกิดแห่งลำนำเพลงพื้นบ้าน พ่อเพลง-แม่เพลง ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินแห่งชาติ ต่อเนื่องมายังบทเพลงอีแซว การขับเสภา มาสู่ยุคราชาลูกทุ่งผู้มีชื่อเสียง สุรพล สมบัติเจริญ ดินแดนเมืองสุพรรณแห่งนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตศิลปินเพลงลูกทุ่งมากที่สุดของประเทศไทย ห้องศิลปินเพลงเมืองสุพรรณ จะรวบรวมศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ ครูมนตรี ตราโมท แม่บัวผัน จันทร์ศรี ครูแจ้ง คล้ายสีทอง และขวัญจิต ศรีประจันต์ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมศิลปินลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากประชาชน เช่น สุรพล สมบัติเจริญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา เสรี รุ่งสว่าง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ฯลฯ ผลงานของศิลปินเมืองสุพรรณได้ถูกรวบรวมไว้ทั้งแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง หนังสือเพลง และแผ่น ซี.ดี. ที่ผู้ชมนิทรรศการสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อแบบจำลอง ของจริง รับฟังได้ ค้นได้จากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ห้องพุทธศาสน์ : ปราชญ์เมืองสุพรรณ นอกเหนือจากวิถีชีวิตชาวชนบทที่เรียบง่าย การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขจะเป็นแหล่งกำเนิดศิลปินลูกทุ่งเมืองไทยแล้ว ชาวสุพรรณจากอดีตถึงปัจจุบันได้สร้างนักปราชญ์แห่งแผ่นดินทั้งข้อคิดและคำสอนของท่านเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแก่บุตร หลาน ให้ประพฤติ ปฏิบัติแต่สิ่งดีงาม ภาพซึ่งเป็นตัวแทนแห่งคำสอนของท่านตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความดื่มด่ำในรสพระธรรมในส่วนของผู้ที่ต้องการความรู้จากพระไตรปิฎก จะสามารถศึกษาได้อย่างสมบูรณ์แบบ จาก พระไตรปิฎก ตำรา เอกสาร และข้อมูล ที่ท่านสามารถสืบค้นได้ นำเสนอสื่อประสมเพื่อพัฒนาทั้งทางร่างกายและความคิด โดยจัดแบ่งสื่อดังกล่าวตามวัย และความพร้อมของเด็ก มุ่งให้เด็กได้แสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันพยายามใช้สื่อเป็นตัวกระตุ้น ให้เด็กได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบ มีมุมผู้ปกครองให้สามารถนั่งพักผ่อน เพื่อสังเกต และรับรู้การแสดงออกของบุตรหลานของคนที่มาใช้บริการ และมีโอกาสที่จะได้พูดคุยกับผู้ปกครองผู้อื่นที่มานั่งพักผ่อนด้วยกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด รวมทั้งได้จัดสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และครอบครัว ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต มุมหนังสือทั่วไป หนังสือมากกว่า 1 หมื่นเล่ม ทุกประเภทได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบที่ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จากระบบการสืบค้นชื่อเรื่อง หรือ ชื่อผู้แต่งจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หนังสือพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดไว้ในตู้หนังสือที่พร้อมสำหรับการศึกษา ทั้งภายในห้องสมุด และสามารถยืมกลับไปอ่านได้ที่บ้านของท่าน นอกจากนี้เราได้จัดมุมแนะนำหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ เราเปิดกว้างสำหรับการใช้บริการหนังสืออ้างอิงท่านสามารถสืบค้นข้อมูล ในระบบเชื่อมโยงเครือข่ายกับห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอด่านช้าง และห้องสมุดประชาชนอำเภอทุกอำเภอในสุพรรณบุรี เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างไม่มีขีดจำกัด มุมสุพรรณบุรี ชั้นล่างของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอดอนเจดีย์ จะเป็นส่วนของการนำเสนอประวัติความเป็นมาของเมืองสุพรรณบุรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การสร้างสมศิลปวัฒนธรรม อารยธรรมสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ความกล้าหาญ รักชาติ รักแผ่นดิน ของบรรพบุรุษที่ยอมสละทุกสิ่งแม้ชีวิตเพื่อปกป้องพื้นแผ่นดินให้อยู่ คู่กับลูกหลาน สู่ยุคปัจจุบันที่ความเจริญทางวัตถุมาถึงวิถีชีวิตของชาวสุพรรณบุรี ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ความรักและความภาคภูมิใจในความเป็น “คนสุพรรณ” ที่เข้มข้น ชาวสุพรรณบุรีทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดต่างมีใจตรงกันที่พร้อมจะพัฒนาบ้านเกิดให้เจริญทัดเทียมกับเมืองอื่น ๆ มุมศูนย์การเรียน-ศูนย์ข้อมูลชุมชน สิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนา คือ การที่บุคคลที่มีคุณภาพให้การศึกษานอกโรงเรียน จะเป็นส่วนเติมเต็มในช่องว่างของโอกาสในการศึกษาของประชาชน ผู้สนใจในการศึกษาสามารถที่จะใช้สื่อเพื่อศึกษาตนเอง สู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเข้ารับบริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้งสายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย ข้อมูลชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ถูกรวบรวมไว้ ณ ที่นี้ บรรยากาศในการเรียนรู้ทุกรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ต้องการศึกษา ค้นคว้า โดยมีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมที่จะให้การชี้แนะประจำอยู่ในห้องนี้ พร้อมด้วยความรู้จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต (INTERNET) เวลาเปิดบริการ วันจันทร์-วันเสาร์ (หยุดวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์) 8:30 – 17:00 น.
Category
Library
Location
เลขที่ 52
Amphoe Don Chedi Province Suphan Buri
Details of access
No. เลขที่ 52
Amphoe Don Chedi Province Suphan Buri
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่