ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 13' 7.1652"
12.218657
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 29' 47.58"
102.49655
เลขที่ : 171104
เครื่องมือการแกะหนังตะลุง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : ตราด
0 696
รายละเอียด

เครื่องมือการแกะหนังตะลุง คือเครื่องมือที่ช่างทำหนังตะลุงจะต้องใช้ในการแกะตัวหนังให้มีลวดลายตามตัวละครที่กำหนดไว้ เครื่องมือเหล่านี้ประกอบไปด้วย
1. กระดานเขียง ใช้สำหรับรองตัวหนังขณะที่แกะหนัง
2. มีดแกะ อาจมีได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับช่างแกะ แต่ละขนาดจะเหมาะกับลายที่ต่างกัน เช่น ลวดลายที่ละเอียดก็ต้องใช้มีปลายแหลมขนาดเล็ก ส่วนลายใหญ่ ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก ก็จะใช้มีที่มีปลายขนาดใหญ่
3. ค้อน ค้อนที่มีขนาดพอเหมาะจะช่วยให้น้ำหนักในการแกะหนังออกมาพอดี ขนาดต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เนื่องจากหนังเป็นพื้นผิวที่ไม่แข็ง น้ำหนักของค้อนที่มากเกินไปจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย อย่างไรก็ตามก็จะขึ้นอยู่กับความชอบของผู้แกะเป็นหลัก
4. เหล็กเขียนลาย เป็นเหล็กเนื้อแข็ง ปลายแหลม มีด้ามจับ ขนาดและรูปร่างคล้ายกับปากกาหรือดินสอ
5. สีผึ้ง ใช้สำหรับทาปลายมีดหรือเหล็ก เพื่อให้เกิดความลื่น ซึ่งจะทำให้การแกะหนังได้ละเอียดยิ่งขึ้น
โดยเครื่องมือแกะหนังตะลุงนี้เป็นของนายเฟื้อง ใจเที่ยง ซึ่งท่านกล่าวว่าได้ใช้เครื่องมือนี้แกะหนังตะลุงมาหลายตัวแล้ว นายเฟื้องได้ให้ความคิดเห็นว่าการแกะหนังตะลุงถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีคุณค่า ผู้ที่จะแกะหนังตะลุงต้องมีความเข้าใจในตัวละครนั้น ๆ เป็นอย่างดี และต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่เรานำมาใช้ในกระบวนการแกะหนังตะลุงด้วย อีกทั้งต้องมีสมาธิและจดจ่อในการทำหนังตะลุงให้ออกมาแต่ละตัว จึงเป็นเป็นเรื่องที่อยากให้คนรุ่นถัดไปได้เรียนรู้และสืบสานไว้

สถานที่ตั้ง
อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเฟื้อง ใจเที่ยง
อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่