ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 25' 12.806"
12.4202239
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 31' 47.2901"
102.5298028
เลขที่ : 171150
ตำราดูปลาเข็ม
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 14 ธันวาคม 2564
จังหวัด : ตราด
2 2504
รายละเอียด

ปลาเข็มเป็นปลาพื้นบ้านของจังหวัดตราด และบางจังหวัดในภาคตะวันออก เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความยาวประมาณ 2.5 นิ้วเท่านั้น มีลักษณะเด่นคือไม่มีเกล็ดเป็นนักสู้ตัวฉกาจ นายศิริ กาบสลับ ผู้มีความชำนาญในการดูปลาเข็ม กล่าวไว้ว่า ปลาเข็มที่มีลักษณะดี ปากล่างเป็นอวัยวะเพศของตัวผู้ มีลักษณะเรียวแหลมเหมือนเข็มเย็บผ้า จึงนิยมเรียกปากล่างว่า เข็มล่าง ปากล่างที่สวยจะต้องยาวกว่าปากบนไม่เกินหนึ่งเท่า ปากบนจะต้องสั้นหนาโคนปากใหญ่ ปลายปากเรียวเล็กน้อยคล้ายปากจิ้งจก ตา หู เหงือก ทั้งสามอย่างนี้ ปลาเข็มทุกสายพันธุ์จะมีลักษณะไม่แตกต่างกัน กระทงบนจะมีสีแกต่างกัน ถ้ามีสีเหลืองเรียกว่า ปลาเหลือง ถ้ามีสีแดง เรียกว่าปลาแดง ถ้าสีสีผสมระหว่างแดงกับเหลืองเรียกว่าปลาแซม จุดบนเป็นสีดำ จุดที่กลมและเล็กถือว่าเป็นจุดที่สวย หางที่สวยปลายหางจะต้องบาง ไม่มีขอบมีความกว้างยาวได้สัดส่วนกับขนาดของปลา สีหางสวยคือสีเหลือง จุดล่างที่จัดว่าสวยจะต้องเล็กหรี่กว่าจุดบน กะทงล่าง โดยทั่วไปจะมีสีแดง ทวารเป็นช่องเล็กๆ อยู่ที่ใต้ท้องปลา สะดือมีหลายสี เช่น ขาวล้วน ขาวปนดำ หรือขาวปนแดง คนพื้นบ้านนำปลาเข็มจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเลี้ยงไว้ตามบ้าน นานกว่า 150 ปีมาแล้ว จนมีความคุ้นเคยกับความเป็นอยู่ ลักษณะนิสัย เป็นอย่างดี นับเป็นมรดกทางปัญญาของบรรพบุรุษที่สอนลูกหลานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

คำสำคัญ
ปลาเข็ม
สถานที่ตั้ง
จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัด ตราด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่