ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 25.7688"
17.407158
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 11.562"
103.236545
เลขที่ : 171700
เชี่ยนหมาก
เสนอโดย - วันที่ 1 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุดรธานี
0 2311
รายละเอียด
เชี่ยนหมากได้รับการเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เชี่ยนหมากเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้ในการกินหมากของคนไทยทุกภูมิภาค ประกอบด้วยตัวภาชนะสำหรับใส่ หมาก ยาเส้น ปูน สีเสียด พลู ชาวบ้านทางภาคอีสานเรียกเชี่ยนหมากต่างกันไปตามภาษาแต่ละท้องถิ่น เช่น เซี่ยนหมาก เฆี่ยนหมาก และขันหมาก เชี่ยนหมากเป็นของที่คนเฒ่าคนแก่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนและเป็นเครื่องแสดงฐานะเจ้าของบ้าน มักวางไว้กับกระโถนและน้ำต้น หรือคนโทน้ำ ประกอบกันเป็นชุดรับแขก เชี่ยนหมากยังใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมการแต่งงานซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นผู้จัดขันหมากไปสู่ขอ และมอบเชี่ยนหมากให้ฝ่ายเจ้าสาว เชี่ยนหมากทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น ทอง เงิน ไม้ ทองเหลือง เครื่องเขินหรือจักสาน ส่วนที่เป็นภาชนะของเชี่ยนหมากมีทั้งรูปทรงกลมคล้ายพานหรือถาด มีทรงสี่เหลี่ยมและหกเหลี่ยม เชี่ยนหมากรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้เป็นลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของทางภาคอีสาน การตกแต่งนิยมทาสีดำ จากรัก แกะลสักลวดลายเส้นแบบเรขาคณิต และตกแต่งด้วยสีขาว แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน มีส่วนกระบะที่อยู่ชั้นบนสำหรับใส่เต้าปูน ตลับหมาก ใบพลูแบ่งออกเป็นช่องเล็ก 2 ช่อง ช่องใหญ่ 1 ช่อง และส่วนของฐานซึ่งมี 2 แบบ คือขันหมากตัวผู้จะมีเดือยอยู่ระหว่างขาตั้ง ส่วนขันหมากตัวเมียจะทำขาแหวกขึ้นไปจรดส่วนเอวซึ่งต่อกับส่วนกระบะทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันการกินหมากค่อยๆ สูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า แต่เชี่ยนหมากโบราณเป็นที่นิยมในฐานะของสะสม ทุกวันนี้ยังมีการทำเชี่ยนหมากอยู่แต่จุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นของตกแต่งบ้าน ร้านค้า หรืองานนิทรรศการต่างๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบ้านเชียง
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่