ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 22.4892"
17.406247
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 23.3196"
103.239811
เลขที่ : 171701
เชี่ยนหมาก
เสนอโดย - วันที่ 1 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุดรธานี
0 1704
รายละเอียด
เชี่ยนหมากจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์พืนบ้านวัดสระแก้ว ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการ ค้นหาอดีตและวิถีไทพวนที่บ้านเชียง มีขนาด กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 17.5 เซนติเมตร นางประกาย สุทธิบุญเป็นผู้มอบให้ เชี่ยนหมากเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้ในการกินหมากของคนไทยทุกภูมิภาค ประกอบด้วยตัวภาชนะสำหรับใส่ หมาก ยาเส้น ปูน สีเสียด พลู ชาวบ้านทางภาคอีสานเรียกเชี่ยนหมากต่างกันไปตามภาษาแต่ละท้องถิ่น เช่น เซี่ยนหมาก เฆี่ยนหมาก และขันหมาก เชี่ยนหมากเป็นของที่คนเฒ่าคนแก่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนและเป็นเครื่องแสดงฐานะเจ้าของบ้าน มักวางไว้กับกระโถนและน้ำต้น หรือคนโทน้ำ ประกอบกันเป็นชุดรับแขก เชี่ยนหมากยังใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมการแต่งงานซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นผู้จัดขันหมากไปสู่ขอ และมอบเชี่ยนหมากให้ฝ่ายเจ้าสาว เชี่ยนหมากทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น ทอง เงิน ไม้ ทองเหลือง เครื่องเขินหรือจักสาน ส่วนที่เป็นภาชนะของเชี่ยนหมากมีทั้งรูปทรงกลมคล้ายพานหรือถาด มีทรงสี่เหลี่ยมและหกเหลี่ยม เชี่ยนหมากรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกล่องไม้เป็นลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของทางภาคอีสาน การตกแต่งนิยมทาสีดำ จากรัก แกะลสักลวดลายเส้นแบบเรขาคณิต และตกแต่งด้วยสีขาว แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน มีส่วนกระบะที่อยู่ชั้นบนสำหรับใส่เต้าปูน ตลับหมาก ใบพลูแบ่งออกเป็นช่องเล็ก 2 ช่อง ช่องใหญ่ 1 ช่อง และส่วนของฐานซึ่งมี 2 แบบ คือขันหมากตัวผู้จะมีเดือยอยู่ระหว่างขาตั้ง ส่วนขันหมากตัวเมียจะทำขาแหวกขึ้นไปจรดส่วนเอวซึ่งต่อกับส่วนกระบะทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันการกินหมากค่อยๆ สูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า แต่เชี่ยนหมากโบราณเป็นที่นิยมในฐานะของสะสม ทุกวันนี้ยังมีการทำเชี่ยนหมากอยู่แต่จุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นของตกแต่งบ้าน ร้านค้า หรืองานนิทรรศการต่างๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ พิพิธภัณฑ์
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่