ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 22' 0.6863"
17.3668573
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 51' 32.2142"
103.8589484
เลขที่ : 173167
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
เสนอโดย ชมรมคนรักวัฒนธรรมไทยสกลนคร วันที่ 13 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สกลนคร
0 511
รายละเอียด

พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตําบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์ เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้นความเป็นมาในการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้มีพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ภายหลังจากการสรงน้ำศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ว่าในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ขอให้ทุกคนได้สามัคคีกัน อย่าให้เกิดความแตกแยกและขอให้ยึดมั่นในคำสอนของท่านไว้ให้มั่นคง ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห่งเดียวกัน เครื่องอัฐบริขารของท่านอาจารย์ ถ้าสามารถเก็บรวมรักษาไว้เป็นที่เดียวกันก็จะดี

ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปปั้น พระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กําเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ที่ตําบลบ้านม่วงไข่ อําเภอ พรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทในพุทธ ศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ในคืนวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ ๗๘ ปี และหลังจากพระราชทานเพลิงศพท่านเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์ หลังจากนั้น ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง ๒๗.๙ เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่างๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน โดยมีคณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษาจะสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้นผู้เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน

กุฏิหลวงปู่ฝั้น เป็นกุฏิไม้หลังเดิมที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้จำพรรษา ด้านล่างของกุฏิหลวงปู่ฝั้น มีรูปหล่อหลวงปู่ฝั้นประดิษฐานอยู่

ฝั่งตรงข้ามของวัดป่าอุดมสมพรจะตลาดชนบท รพช. ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อของฝาก

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร (วัดป่าอุดมสมพร)
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านนาหัวช้าง
ตำบล พรรณา อำเภอ พรรณานิคม จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายทนงศิลป์ วจีสิงห์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพรรณานิคม
เลขที่ 192 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 8 บ้านพอกน้อยพัฒนา
จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่