ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 36' 56.4217"
18.6156727
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 51' 42.3112"
98.8617531
เลขที่ : 174241
อิฐมอญ
เสนอโดย paanrada วันที่ 24 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 3 มกราคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 400
รายละเอียด

อิฐเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างมาแต่ครั้งอดีต สังเกตได้จากโบราณสถานที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ และยังคงความสำคัญนับจากอดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน มีบทบาทเด่นในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ อิฐมอญเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำดินเหนียวมาเผาเพื่อให้ได้วัสดุที่คงรูปมีความแข็งแรง การใช้อิฐมอญในงานก่อสร้างมีมากหลากหลายจึงมี คนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเชื่อมั่นในความคงทนและผลิตได้ในประเทศจากแรงงานท้องถิ่น คุณสมบัติของอิฐมอญจะยอมให้ความร้อนถ่าย-เข้าออกได้ง่ายเก็บความร้อนในตัวเองได้นาน เนื่องจากอิฐมอญ มีความจุความร้อนสูง สามารถเก็บกักความร้อนไว้ในเนื่องมาก โดยที่ค่อยๆถ่ายเทจากภายนอก จึงเหมาะแก่การใช้งานในช่วงเวลากลางวัน อิฐมอญนั้น แต่เดิมดินที่นำมาทำอิฐมอญเป็นดินจากแม่น้ำ มีเนื้อละเอียดปนทราย ซึ่งเป็นคุณลักษณ์พิเศษคือ ไม่เหนียวมากเกินไป แต่ปัจจุบันนั้น หันมาใช้ดินจากพื้นที่ลุ่ม มีคุณสมบัติเหมือนดินแม่น้ำ กล่าวคือเป็นดินสองชั้น ชั้นบนเป็นดิน เหนียวปนทรายมาก ส่วนชั้นล่างเป็นดินเหนียวล้วน ๆ เมื่อขุดมารวมกัน ก็จะได้ดินเหนียวปนทรายเนื้อดี

อิฐมอญ เป็นอิฐดินเผา เนื้ออิฐมีสีแดงเข้ม ตัวอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อแกร่งทนทาน อิฐมอญปัจจุบันมีขนาดเล็กต่างกว่าในอดีตมาก แต่คุณภาพของอิฐยังดีเหมือนเดิม ราคาไม่แพง ช่างก่อสร้างจึงนิยมใช้อิฐมอญกันมาก การทำอิฐมอญเริ่มจากการนำดินที่เตรียมไว้ ไปใส ในบ่อ ผสมดินเรียกว่า หลุมดิน แล้วเอาแกลบใส่ผสม ใช้เท้าย่ำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันเรียกว่า ย่ำดิน เมื่อได้ที่แล้วจึงโกยดินดังกล่าวไปเก็บไว้ในบ่อพักดิน เพื่อผึ่งดินให้หมาด ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วโกยดินขึ้นรถเข็นนำไปยังลาน แล้วเทดินไว้บนลานกลางแจ้ง ใช้พิมพ์ที่ทำด้วยไม้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้กดลงบนดิน พิมพ์เป็นแผ่น เรียงกันเป็นแถวบนลาน แล้วผึ่งแดดไว้ประมาณสามวันจนแห้ง จากนั้นจึงใช้มีดถากตกแต่งให้เรียบร้อยทั้งสี่ด้าน มีดที่ใช้แต่งเรียกว่า มีดถากอิฐ เมื่อตกแต่งแล้วจะผึ่งแดดไว้จนกว่าอิฐจะแห้ง แล้วขนอิฐไปเรียงซ้อนไว้เป็นชั้น ๆ ในโรงอิฐจนเป็นกองใหญ่ ขนาดกว้าง 10เมตร ยาว 20 เมตร สูง 2 เมตร จะได้อิฐประมาณสองหมื่นแผ่นเรียกว่า หนึ่งเตา แล้วเอาโคลนผสมแกลบทาให้ทั่วเตา อย่าให้มีรูหรือร่องรอย เพื่อที่เวลาเผาจะเก็บความร้อนได้มาก จากนั้นเอาฟืนสอดตามช่องระหว่างแถวอิฐที่ติดกับพื้นดิน เอาไฟจุดเผา ไฟจุลุกลามขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ใช้เวลาเผาประมาณ 5-7 วัน ก็ไหม้หมด พอถึงวันที่สิบอิฐจะเย็นลง ช่างจะรื้ออิฐด้านนอกที่ไม่สุกออก เหลือแต่อิฐสุกสีแดงไว้ขายต่อไป

( ผู้ให้ข้อมูล นายอุทัย ชื่นจิตร์ 165 หมู่ 11 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120 )

สถานที่ตั้ง
บ้านดง
เลขที่ 165 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ 11 บ้านดง
ตำบล บ้านแม อำเภอ สันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่(อำเภอสันป่าตอง)
บุคคลอ้างอิง ปานรดา อุ่นจันทร์ อีเมล์ pugkatoon@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ อีเมล์ culture_cm@hotmail.com
ตำบล ช้างเผือก อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50300
โทรศัพท์ 053-112595-6 โทรสาร 053-112595-6
เว็บไซต์ culture_cm@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่